ณ ปัจจุบันนี้ Dollar Index เป็นดัชนี สำคัญมาก เพราะว่ามีผลในการบอกถึงแนวโน้ม

เริ่มโดย admin, พฤษภาคม 02, 2015, 04:42:43 PM

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

admin

http://www.investorchart.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538772067&Ntype=4


ณ ปัจจุบันนี้  Dollar  Index เป็นดัชนี สำคัญมาก เพราะว่ามีผลในการบอกถึงแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ดังนี้ครับ

1.บอกทิศทางค่าเงินดอลลาร์ต่อสกุลเงินต่างๆ เช่น ไทยบาทต่อดอลลาร์ เยนต่อดอลลาร์ ปอนด์ต่อดอลลาร์ หรือยูโรต่อดอลลาร์ ซึ่งก็หมายความว่า ถ้าหากว่า  Do llar  index มีการอ่อนค่าลงก็จะส่งผลถึงแนวโน้มของเงินสกุลต่างๆ ว่ามีโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นต่อดอลลาร์ แต่อย่างไรก็ดี การที่ค่าเงินสกุลต่างจะแข็งค่าต่อเงินสกุลดอลลาร์อาจมีอัตราส่วนที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจ การเมือง ความเชื่อมั่น และ  Demand &  Supply ของเงินสกุลนั้น ว่ามีมากน้อยอย่างไรด้วยครับ

2.บอกถึงกระแสเงิน (Fund  Flow) ที่มักจะถูกเอาเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีค่าเงินแข็งกว่าเงินสกุลดอลลาร์ ซึ่งจะเข้าทั้งในตลาดตราสารเงิน และตลาดทุน โดยเราจะเห็นว่าส่วนใหญ่ที่ผ่านมา เมื่อเงินบาทของเรามีแนวโน้มที่จะแข็งค่า ก็มัก จะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาแล้วครับ เงินนอกตรงนี้จะมาซื้อหุ้นจำนวนมาก จึงทำให้ปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติดูจะเป็นสัดส่วนเดียวกับเงินบาทที่แข็งค่า คือต่างชาติมักจะซื้อหุ้นเมื่อเห็นว่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าและ จะขายเมื่อเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า ดังมีตัวอย่าง ให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ถ้าสังเกตนะครับ

แต่อย่างไรก็ดีครับ เราจะเห็นว่าในปี 2008 นั้นเกิดการขายของนักลงทุนต่างชาติ ในขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่า ตรงนี้ก็เป็นได้ เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์ซับไพรม์ที่ทำให้เงินลงทุนสินทรัพย์ทั่ว โลกถูกเทขาย เพื่อนำเงินกลับมาอุ้มวิกฤติในประ เทศสหรัฐอเมริกา

3.ราคาทองคำ ก็เนื่องจากเงินสกุลดอล ลาร์เปรียบเสมือนเงินสกุลหลักในการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ซึ่งถ้าหากว่าค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงไปด้วยกลไกแล้ว คนเรา ก็จะทำให้เงินดอลลาร์ถูกแปลงสภาพเป็นสินทรัพย์ อื่นๆ ที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ดังเช่นทองคำเป็นต้นครับ โดยในอดีตที่ผ่านมา ทองคำเปรียบเสมือนเงินสดสกุลหนึ่งที่มีสภาพคล่องและสามารถใช้เป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันเงิน เฟ้อได้ดี ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างทองคำและดอลลาร์ก็มักจะมีความสัมพันธ์แบบผกผันกัน คือหากดอลลาร์อ่อน ทองคำจะปรับตัวสูงขึ้น และ หากดอลลาร์แข็ง ทองคำจะปรับตัวลดลง

4.ราคาน้ำมันความสัมพันธ์ของราคาน้ำมัน ก็มักจะเป็นสัดส่วนที่ผกผันกับดัชนีค่าเงินดอลลาร์ เหมือนกันก็คือว่า ราคาน้ำมันมักจะปรับตัวสูงขึ้น เมื่อค่าเงินดอลลาร์มีการอ่อนค่าครับ

ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะอย่างแรก เงินสกุลดอลลาร์เปรียบเสมือนสกุลหลักในการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้าที่มีอยู่ทั่วโลก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ อย่าง น้ำมัน ทองคำ เหล็ก ธัญพืช ฯลฯ ต่างใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในการแลกเปลี่ยนซื้อขาย จึงทำให้ประเทศคู่ค้าต่างๆ ต้องการที่จะขายสินค้าในมูลค่าทางการเงินเท่าเดิม (คือยังได้เงินดอลลาร์มาซื้อสินค้าอย่างอื่นในปริมาณหรือขนาดเท่าเดิม) แต่หากค่าเงินดอลลาร์อ่อนก็หมายถึงอำนาจซื้อของเงินดอลลาร์ลดน้อยลง จึงทำให้ผู้ขายสินค้าเหล่านี้ปรับราคาให้สูงขึ้นเพื่อมาชดเชยมูลค่าดอลลาร์ที่ขาดหายไป

หรืออย่างที่สอง อาจเกิดสภาวะการเก็งกำไรก็ได้ครับ คือการเข้าถือครองในสินทรัพย์ประเภทโภคภัณฑ์ (commodities) มากขึ้นเมื่อค่าเงินดอล ลาร์มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่า เพราะผู้ลงทุนทุกคนต่างมุ่งหวังที่จะถือสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มแข็งค่ามากกว่าอ่อนค่าเพื่อรักษามูลค่าสินทรัพย์รวมที่ได้ลงทุนไว้ ดังนั้น เมื่อแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์อ่อนก็จะส่งผลให้ราคา Commodities ปรับตัวสูงขึ้นครับ.

ดัชนีค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือ U.S. Dollar Index (USDX). คือ "ค่าเฉลี่ยถ่วงน้าหนักเรขาคณิต ของค่าเงินอื่น ๆ ต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ"

ซึ่ง U.S. Dollar Index ประกอบได้ด้วยค่าเงิน 6 ค่าเงิน คือ :
1. Euro (EUR), 57.6% โดยน้ำหนัก
2. Japanese Yen (JPY), 13.6% โดยน้ำหนัก
3. Pound sterling (GBP), 11.9% โดยน้ำหนัก
4. Canadian dollar (CAD), 9.1% โดยน้ำหนัก
5. Swedish Krona (SEK), 4.2% โดยน้ำหนัก
6. Swiss Franc (CHF), 3.6% โดยน้ำหนัก

ซึ่งทั้ง 6 ค่าเงินนี้ มีประเทศที่ใช้เงินพวกนี้อยู่ทั้งหมดเป็นจำนวน  22 ประเทศ คือ ยูโร 17 ประเทศ และบวกเพิ่มอีก 5 ประเทศคือ (Japan, Great Britain, Canada, Sweden, and Switzerland) ซึ่งเป็นค่าเงินที่เหลือ  ประเทศทั้ง 22 ประเทศนั้นไม่ได้เยอะเมื่อเทียบกับจานวนประเทศที่โลกเรามี แต่ว่า ประเทศอื่น ก็อ้างอิง U.S. Dollar index อย่างใกล้ชิดเช่นกัน ทำให้ดัชนีนี้เป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมในการประมาณความแข็งแกร่งของค่าเงินสหรัฐฯในภาพรวม

ดัชนีนี้ ได้มีการเริ่มต้นคำนวณมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ที่ดัชนี 100 ซึ่งเคยปรับตัวขึ้นสูงสุดราว 160 และต่ำสุดที่ 70.698 ในวันที่ 16 มี.ค. 2008 ที่เกิด Hamburger Crisis  ซึ่งทั้งนี้ดัชนีนี้ ได้มีการซื้อขายในตลาด IntercontinentalExchange  ที่นิวยอร์ค โดยจะเริ่มทำการซื้อขายตั้งแต่ เย็นวันอาทิตย์ (16.00 น.เวลานิวยอร์ค) ตลอด24ชั่วโมงถึงวันศุกร์เย็น (16.00 น. นิวยอร์ค)


โดยสูตรการคำนวนมีดังนี้
USDX = 50.14348112 × EURUSD^(-0.576) × USDJPY^(0.136) × GBPUSD^(-0.119) × USDCAD^(0.091) × USDSEK^(0.042) × USDCHF^(0.036)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ตลาดอนุพันธ์ (USD Futures)
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs