วิธีตรวจเช็คเมนบอร์ด

เริ่มโดย admin, กุมภาพันธ์ 21, 2013, 01:07:13 PM

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

admin

   
เรื่องน่ารู้และวิธีตรวจเช็คเมนบอร์ด
? เมื่อ: สิงหาคม 23, 2011, 10:49:14 AM ?
  ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่าไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญอะไร เป็นเพียงแค่ช่างคอมพ์และเจ้าของร้านเกมส์เล้กๆเท่านั่น แต่เมื่อคอมพ์มีปัญหาได้ทำการค้นหาข้อมูลและสามารถหาวิธีแก้ไขได้ ก็จะพยายามรวบรวมข้อมูลและวิธีแก้ไข มาแบ่งปั่นกันเพื่อเป็นประโยนช์ต่อท่านอื่นที่อาจจะบังเอิญเจอปัญญาหรือต้องการความรู้นี้   ดังเช่นครั้งนี้ เนื่องจากบอรืดและคอมพ์ที่ร้านมีปัญหาบ่อยๆและบางครั้งก็ยากแก้การตรวจสอบด้วยการมองเห็นโดยทั่วไป ผมจะทดลองใช้การ์ดตรวจสอบเมนบอร์ด(ไม่ขอระบุชื่อนะครับเดี๋ยวจะออกเชิงพาณิชย์) ซึ่งสามารถหาซื้อได้ในหลายยี่ห้อ หลายราคา สำหรับผมซื้อจากร้านแอดวาร์ด ราคา100บาท มีคู่มือเป็นภาษาจีนทั้งหมดให้มา1เล่ม งงไปแปดตลบเพราะอ่านไม่ออกแปลไม่ได้ ก็เลยต้องอาศัยGoogleช่วยหาแหล่งข้อมูลต่างๆและเป็นที่มาของการรวบรวมบทความเกี่ยวกับเมนบอร์ดในครั้งนี้

ขอขอบคุณและขออนุญาตินำข้อมูลของท่านมา ณ.ที่นี้
http://www.bbcomleader.com
http://www.overclockzone.com

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ mainboard
เมนบอร์ด (Mainboard)เป็นแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นแผ่นเซอร์กิตPCB(PrintCircuitBoard)ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์
อิเล็กโทรนิคต่างๆรวมทั้งซีพียู,หน่วยความจำหรือRAMและแคช(Cache)ซึ่งหน่วยความจำความเร็วสูงสำหรับพักข้อมูลระหว่างซีพียูและแรม
อุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งอยู่บนเมนบอร์ดได้แก่ชิปเซ็ต (Chipset) ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กจำนวนหลายล้านตัวผลิตด้วย
เทคโนโลยีการทำงานระหว่างอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให ้เมนบอร์ดแต่ละยีห้อและแต่ละรุ่นมีคุณสมบัติต่างกันนอกจากนี้บนเมนบอร์ด
ยังมีช่องสำหรับเสียบการ์ดเพิ่มเติมที่เรียกว่า สล็อต(Slot)ซึ่งการ์ดจอ, การ์ดเสียง ฯลฯ ต่างก็เสียบอยู่บนสล็อต นอกจากนี้เมนบอร์ดในปัจจุบันยังได้
รวมเอาส่วนควบคุมการ ทำงานต่าง ๆ ไว้บนตัวเมนบอร์ดอีกด้วย ได้แก่ ส่วนควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Harddisk Controller),พอร์ตอนุกรม (Serial Port)
พอร์ต ขนานหรือพอร์ตเครื่องพิมพ์ (Printer Port), พอร์ต PS/2,USB(Universal Serial Bus) รวมทั้ง Keyboard Controller
สำหรับอุปกรณ์ อื่นที่มีมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดเมนบอร์ดได้แก่ ROM BIOS และ Real-Time Clock เป็นต้น
อาการเสียที่มักจะเกิดบ่อยที่ผู้ใช้ควรรับรู้และสามารถแก้ไขได้ ตัวอย่างเช่น         
1.รู้ได้อย่างไรว่าเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ รองรับอุปกรณ์ Onboard อะไรบ้าง
            หากอยากรู้ว่าคอมพิวเตอร์หรือเมนบอร์ดที่ใช้อยู่มีอุปกรณ์ Onboard อะไรแถมมาด้วยก็ไม่ยาก โดยให้ดูที่ด้านท้ายเคสซึ่งจะมีพอร์ตสำหรับ
ต่อเมาส์ และคีย์บอร์ด ถ้าหากเมนบอร์ดมีอุปกรณ ์ Onboard อื่นให้มาด้วยก็จะมีพอร์ตสำหรับอุปกรณ์นั้นเช่น พอร์ต Modem, Lan, VGA, Sound คือถ้าพบมีพอร์ตดังกล่าวอยู่ท้ายเคสก็ให้เสียบใช้งานได้ทันที
2. การ์ดจอ Onboard เสียจะทำอย่างไร
            ปัญหานี้จะแสดงอาการออกมาในลักษณะเปิดเครื่องได้เห็นไฟเข้าเครื่องทำงานปรกติต่หน้าจอจะไม่มีภาพอะไรเลยผู้ใช้หลายคนนึกว่าเมนบอร์ดเสีย
จึงไปหาซื้อเมนบอร์ดมาเปลี่ยนใหม่ทำให้สูญเสียเงินไปโดยใช่เหตุสาเหตุ เป็นเพราะระบบแสดงผลของชิปเซ็ตบนเมนบอร์ดเสีย ทำให้ไม่มีภาพปรากฏบนหน้าจอ
วิธีแก้  ให้ทำการ เปิดเครื่องแล้ว กลับถ่าน ประมาณ 1 นาที โดยการถอดอุปกรณ์ ออกจากคอมของท่านให้หมดก่อน เช่น สาย Power ไฟ AC หรือไม่ก็ จะมี จัมเปอร์ด เคลีย CMOS ให้ กลับไปจัมป์ เป็น Clear ซัก นาที แล้วเปลี่ยนกลับมาที่เดิม แล้วลองเสียบสาย เปิดดูอีกครั้ง ถ้า ยังไม่ขึ้นภาพอีก ก็นำการ์ดจอมาติดตั้ง
ลงในสล็อต AGP แทน หากเป็นรุ่นที่ไม่มีสล็อต AGP ก็คงต้องหาซื้อการ์ด PCI มาติดตั้งแทน ถ้าอยากใช้ การ์ดจอ Onboard จริงๆ ก็ ส่งบอร์ดมาที่ เรา BBcomleader เราจะจัดซ่อมให้ ท่าน
3. เมนบอร์ดมีการ์ดเสียง Onboard ไม่ทำงาน 
ปัญหานี้มีลักษณะคล้ายกับปัญหาการ์ดจอ Onboard แต่ส่วนใหญ่การ์ดเสียง Onboardที่มีปัญหาใช้งานไม่ได้   
สาเหตุ
1. ยังไม่ได้กำหนดให้ใช้งานวงจรเสียงได้จากไบออส
2. ยังไม่ติดตั้งไดรเวอร์สำหรับวงจรเสียงดังกล่าว
3. อาจเป็นส่วนของวงจรเสียงในชิปเซ็ตเสีย
วิธีแก้
1. กำหนดค่าในไบออสโดยเลือกหัวข้อ Integrated Peripherals
2. เลือกหัวข้อ Onboard Hardware Audio และกำหนดค่าเป็น Enabled
3. Save ค่าไว้และออกจากไบออสบู๊ตเครื่องใหม่
4. ใช้แผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ดติดตั้งไดรเวอร์เสียงลงใน Windows
. หากติดตั้งแล้วใช้การไม่ได้แสดงว่าส่วนวงจรเสียงเสีย ส่งมาให้ทางเราซ่อม เราจะหา CHIP Sound ใหม่เปลี่ยนให้ใช้งานได้ปกติ

4. จะติดตั้งพอร์ต USB ของตัวเครื่องเข้ากับเมนบอร์ดได้อย่างไร ุ   
       เมนบอร์ดทั้วไปมักจะมีพอร์ต USB ติดตั้งมาให้จำนวน 2 พอร์ต โดยจะมีขั้วพอร์ต USB ให้อีก 1 ช่องสำหรับต่อพอร์ต USB ได้อีก 2 พอร์ต
ซึ่งพอร์ตต่อเพิ่มพอร์ต USB มักเป็น Options เสริมที่ต้องซื้อเพิ่มเอาเองแต่ในตัวเคสรุ่นใหม่ที่ด้านหน้าหรือด้านข้างมักจะมีพอร์ตเสริม USB มาให้อีก 2 พอร์ต
วิธีแก้ การติดตั้งพอร์ตเสริม USB ของตัวเคสจำนวน 2 พอร์ต เพื่อให้ใช้งานได้จะต้องนำสาย สัญญาณและสายจ่ายไฟจำนวน 8 เส้นมาเสียบต่อเข้ากับช่องต่อพอร์ต
USB บนเมนบอร์ด โดยจะต้องดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้ยอย่าเสียบผิดสายเพระสาย USB จะมีไฟเลี้ยงอยู่ด้วย จะทำให้อุปกรณ์ต่อพ่วงเสียหายได้ สำหรับขั้นตอนการติดตั้งพอร์ต USB ตัวเครื่องเข้ากับเมนบอร์ดดังนี้
1. เปิดฝาเครื่องออกมาและหาตำแหน่งขั้วต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ด โดยที่ขา 1 จะมีเส้นทึบ สีขาวขีดคร่อมอยู่ 2.นำสายสัญญาณและสายจ่ายไฟพอร์ต USB จากเมนบอร์ดมาเรียงไว้ โดยสายจะมี 2 ชุด ๆ ละ 4 เส้น     
3. นำสายทั้ง 2 ชุดเสียบเข้ากับขั้วต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ดโดยดูจากคู่มือเมนบอร์ดประกอบ กันด้วยอย่าสลับสายกันเป็นอันขาด
5. ใช้งานพอร์ต USB 2.0 ผ่านเครื่องพิมพ์ ไม่เห็นความเร็วเพิ่มขึ้น   
      สาเหตุ พอร์ต USB 2.0 เป็นพอร์ตมาตรฐานเพิ่งออกมาใหม่ รองรับความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 480 Mbps หรือเร็วกว่าพอร์ต USB 1.1 ถึง 40 เท่าแต่ใช่ว่าเมื่อเมนบอร์ดรองรับพอร์ต USB 2.0 แล้วจะสามารถ ใช้งานได้เลย ต้องทำการติดตั้งไดรเวอร์ของ USB 2.0 ให้ถูกต้องเสียก่อน วิธีแก้ สำหรับวิธีการตรวจดูว่าคอมพิวเตอร์ของเรา ได้ติดตั้งและใช้ความสามารถของพอร์ต USB 2.0 แล้วหรือยังมีดังนี้
1. ใน Windows XP ให้คลิกปุ่ม Start>Control Panel>Switch to classic view 2. ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน system
3. คลิกแท็ป Hardware
4. คลิกปุ่ม Device Manager
5. คลิกเครื่องหมาย + หน้า Universal Serial Bus controllers จะพบว่ามีแต่ไดรเวอร์ของ USB 1.1 ติดตั้งไว้เท่านั้น สำหรับ USB 2.0 ยังไม่ได้ติดตั้ง (มีเครื่องหมายตกใจสีเหลืองหน้าตัว Universal Serial Bus (USB) Controller
6. ให้ติดตั้งไดรเวอร์ USB 2.0 โดยการคลิกเมาส์ขวาที่ตัว Universal Serial Bus (USB) Controller และเลือกUpdate Driver?
7. เมื่อปรากฏหน้าจอให้ Update Driver ให้ใส่แผ่นซีดีรอมไดรเวอร์ของเมนบอร์ดเข้าเครื่องและคลิกเลือกหัวข้อ Install the software automatically และดำเนินการตามขั้นตอนที่ปรากฏหน้าจอต่อไป
8. ในขั้นตอนที่ 6 หากต้องการติดตั้งไดรเวอร์ USB จากแผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ดโดยตรงก็สามารถทำได้โดยใส่แผ่นไดรเวอร์เข้าไปในเครื่องเพื่อให้รันโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะปรากฏหน้าจอให้เลือกข้อ VIA USB 2.0 Driverและดำเนินการไปตามข้นตอนที่ปรากฏบนหน้าจอไปจนเสร็จสิ้น หลังจากนั้นจะบู๊ตเครื่องขึ้นมาใหม่
9. ให้เข้าไปตรวจสอบสถานะของไดรเวอร์ USB 2.0 ว่าได้รับการติดตั้งแล้วหรือไม่โดยเข้าไปที่ Control Panel ซึ่งจะพบว่ามีไดรเวอร์ของ USB 2.0 ได้รับการติดตั้งแล้วคือ USB 2.0 Root Hub และ VIA USB 2.0 Enchanced Host Controller เพียงเท่านี้เมื่อมีการใช้งานพอร์ต USB 2.0 เช่น สั่งพิมพ์งานเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์งานเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ผ่านพอร์ต USB 2.0 งานพิมพ์แทบจะวิ่งออกมาทีเดียว 
6. เปิดสวิทซ์แล้วเครื่องไม่ทำงานใด ๆ เลยไฟก็ไม่ติด ไม่มีเสียงร้อง
            สาเหตุที่1ปลั๊กPower Supply หลวม วิธีแก้ ให้ลองขยับปลั๊ก Power Supply ทั้งทางด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์และที่เต้าเสียบให้แน่น - สาเหตุที่ 2 อาจเป็นที่ Power Supply เสีย วิธีแก้ ให้ลองตรวจเช็คว่ามีไฟฟ้าออกจาก Power Supply ถูกต้องหรือไม่วิธีสังเกต ถ้าเป็นสายไฟสีแดงจะมีค่า +5 Volt ถ้าเป็นสายสีเหลืองจะมีค่า +12 Volt หรืออาจสังเกตง่าย ๆ ขั้นต้นว่าเมื่อเปิดสวิทซ์นั้นพัดลมที่ติดอยู่กับ Power Supply หมุนหรือไม่ และเป็นไปได้ที่บางครั้ง Power Supply อาจจะเสียแต่พัดลมยังหมุนอยู่ เราอาจจะลองนำ Power Supply ตัวอื่นที่ไม่เสียมาลองเปลี่ยนดูก็ได้ ถ้าเสียก็ซื้ออันใหม่มาเปลี่ยน เอาแบบ
วัตต์สูง ๆ ก็จะดี - สาเหตุที่ 3 เป็นที่เมนบอร์ดเสีย วิธีแก้ ถ้า Power Supply ไม่เสียมีไฟเลี้ยงเข้าเมนบอร์ดตามปกติ ให้ลองเช็คโดยการถอดการ์ดต่าง ๆ และ RAM ออกหมด ถ้าเปิดเครื่องแล้วไม่มีเสียงร้องแสดงว่าเมนบอร์ดหรือ CPU เสีย แต่ถ้ามีเสียงร้องแสดงว่าอุปกรณ์บางตัวที่ถอดออกไปเสีย และถ้าหากเมนบอร์ดเสียให้ส่งที่ร้านซ่อมหรือซื้อเมนบอร์ดใหม่ - สาเหตุที่ 4 CPU หลวม วิธีแก้ ส่วนใหญ่เหตุการณ์นี้มักเกิดขึ้นกับซีพียูประเภทซ็อคเก็ตสล็อตวัน (Slot 1) และซ็อคเก็ตสล็อตทู (Slot 2) เช่น เพนเทียมทู เป็นต้น ให้เราปิดฝาเครื่องและลองขยับซีพียูที่ดูเหมือนแน่นอยู่แล้วให้แน่นขึ้นไปอีก - สาเหตุที่ 5 CPU เสีย วิธีแก้ ลองหา CPU ตัวใหม่มาลองเปลี่ยนแทน ถ้าใช้ได้ละก็แสดงว่าตัวเก่าเสียแน่นอน - สาเหตุที่ 6 เป็นที่อุปกรณ์บางตัวเสียทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร วิธีแก้ ให้ลองใส่ตรวจเช็คทีละตัว   
7. เปิดเครื่องแล้วมีเสียงร้องแต่ไม่ยอมทำงานใด
- สาเหตุที่ 1 อุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดหลวม
วิธีแก้ ถ้าอุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดหลวม จะทำให้กระบวนการเช็คค่าเริ่มต้น (POST) ของ BIOS ฟ้องค่าผิดพลาด ให้เราเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ด
- สาเหตุที่ 2 อุปกรณ์บางตัวที่อยู่บนเมนบอร์ดต่อไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ ส่วนใหญ่มักเกิดกับ RAM ปกติเมื่อเราเปิดเครื่องแล้วมีปัญหาไม่สามารถแสดงภาพออกทาง หน้าจอในตอนเริ่มต้นได้ Bios จะพยายามแจ้งอาการเสียผ่านทางเสียงร้องออกทางลำโพงที่อยูภาย ในเครื่องคอมพ์ ให้เราเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ด
- สาเหตุที่ 3 อุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ให้เราลองเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ดดู
- สาเหตุที่ 4 Chip บนเมนบอร์ดบางตัวเสีย
วิธีแก้ ให้ลองไปดูเครื่อง Beep Code และถ้าสาเหตุมาจาก Chip บนเมนบอร์ดให้ไปส่งร้านซ่อมเพื่อเปลี่ยน Chip   
8. เครื่องทำงานพื้นฐานตามปกติได้แต่ไม่สามารถใช้อุปกรณ์บางตัวได้ โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้นไม่ได้เสีย
- สาเหตุที่ 1 Chip บางตัวบนเมนบอร์ดเสีย หรือ มีรอย R ใหม้
วิธีแก้ ให้ลองไปดูเรื่อง Beep code และถ้าสาเหตุมาจาก Chip บนเมนบอร์ดให้ไปส่งร้านซ่อมเพื่อเปลี่ยน Chip หรือเปลี่ยน R
- สาเหตุที่ 2 สล็อตหรือพอร์ตบางพอร์ตบนเมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ลองเปลี่ยนการ์ดตัวนั้นไปเสียบสล็อตอื่นที่เหลือแทน แล้วลองทดสอบตามปกติ ถ้าเหมือนเดิมส่งร้านซ่อมหรือซื้อเมนบอร์ดใหม่
- สาเหตุที่ 3 เกิดการ Conflict กับอุปกรณ์ตัวอื่น
วิธีแก้ เข้าไปที่ Device Manager ให้สังเกตว่ามีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) แสดงว่าที่อุปกรณ์ตัวนั้นมีปัญหา ได้ดับเบิ้ลคลิกที่อุปกรณ์ตัวนั้น เพื่อเข้าสู่ Properties จากนั้นลองแก้ไขค่า Resources ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ซ้ำกับอุปกรณ์ตัวอื่นครับ
- สาเหตุที่ 4 ไม่ได้ลงไดรเวอร์
วิธีแก้ ให้ทำการติดตั้งไดรเวอร์ลงไป โดยไดรเวอร์มักจะแถมมากับอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ หรือถ้าหาไม่ได้ให้ลองดาวน์โหลดไดรเวอร ์จากเว็บไซต์ผู้ผลิตดู
- สาเหตุที่ 5 ลงไดรเวอร์ผิดรุ่น
วิธีแก้ ในบางครั้งที่ระบบปฏิบัติการจะตรวจสอบชนิดและรุ่นของอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ โดยอัตโนมัติ ซึ่งมีความเป็นไปได ้ที่ผลของการตรวจสอบจะคลาดเคลื่อน ทางที่ดีควรตรวจเช็คให้แน่ว่ารุ่นของอุปกรณ์ตรงกับไดรเวอร์ที่ลงหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้ลงไดรเวอร ์จากแผ่นโปรแกรมที่มาพร้อมกับเครื่อง       
9. คอมพิวเตอร์แฮงก์บ่อย ๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้
- สาเหตุที่ 1 อาจเกิดจากไวรัสคอมพิวเตอร์
วิธีแก้ ลองใช้โปรแกรม Antivirus เวอร์ชั่นอัพเดทตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด
- สาเหตุที่ 2 คุณภาพเมนบอร์ดไม่ถึงมาตรฐาน
วิธีแก้ อาจเป็นเพราะคุณภาพของเมนบอร์ดไม่ถึงมาตรฐานของโรงงาน ซึ่งโดยมากมักเกิดกับเมนบอร์ดที่เพิ่งซื้อมาใหม่ ให้เอาไปเปลี่ยน
- สาเหตุที่ 3 ไฟล์ระบบปฏิบัติการชำรุด
วิธีแก้ ถ้ามั่นใจแล้วว่าไม่ได้เกิดจากไวรัสและสาเหตุอื่น ๆ ให้เรา Backup ข้อมูล ฟอร์แมต แล้วลงระบบปฏิบัติ การและโปรแกรมใหม่ทั้งหมด 
- สาเหตุที่ 4 อุปกรณ์ ในเมนบอร์ดมีปัญหา เช่น C บวม
วิธีแก้ ถ้า แกะเครื่องออกมา มีรอย ครามน้ำสีน้ำตาล เยิ้ม หรือ C บวมก็ส่ง ร้านซ่อม เปลี่ยน แล้วตรวจสอบให้
10. เวลาบู๊ตเครื่องต้องกด F1 ทุกครั้ง
สาเหตุ พบความผิดพลาดขณะทำการตรวจสอบระบบเรียกว่า Post (Power On Self Test)
วิธีแก้ เมื่อขณะเปิดเครื่อง Bios จะทำการตรวจสอบระบบเรียกว่า Post (Power On Self Test) ถ้าพบผิดพลาดจะมีข้อความแจ้งให้ผู้ใช้ทราบและหยุดรอผู้ใช้กด F1เพื่อทำงานต่อ ซึ่งข้อผิดพลาดส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เราตั้งค่าใน Bios ว่ามีอุปกรณ์บางอย่างอยู่ในเครื่องซึ่งไม่มีอยู่จริง เมื่อ Bios ว่ามีอุปกรณ์บางอย่างอยู่ในเครื่องซึ่งไม่มีอยู่จริง เมื่อ Bios ค้นหาอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วไม่พบอุปกรณ์ดังกล่าวจึงแจ้งความผิดพลาดให้เราทราบ ซึ่งเราอาจเข้าไปแก้ค่าต่าง ๆ ใน Biosให้ตรงกับความจริง ปัญหาที่ Bios ก็จะหายไปเอง หรือวงจร RTC มีปัญหาให้ส่งซ่อมที่ร้านได้ครับ
11. หลังจากที่เปิดเครื่องแล้วมีแต่เสียงปี๊บ ยาวๆ เกิดขึ้นและเครื่องก็ไม่สามารถทำงานต่อไปได้
วิธีแก้ ตามปกติเมื่อเปิดเครื่องแล้วคุณจะได้ยินเสียงดังปี๊บสั้นๆ หนึ่งครั้ง ซึ่งเสียงนี้สื่อให้คุณรู้ว่าระบบทุกอย่างอยู่ใน สภาพปกติ ไม่มีอะไรผิดพลาด ขึ้นกับอุปกรณ์ตัวหนึ่งตัวใดในเครื่องแล้ว ซึ่งกรณีนี้ส่วนใหญ่ มักเกิดจากการลืมติดตั้ง การ์ดแสดงผล หน่วยความจำติดตั้งไม่แน่นหรือไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม เสียงที่เกิดขึ้นนี้มีหลากหลายรูปแบบคุณจะ ต้องแยกให้ออก ว่าเสียงนั้นดังอย่างไร จากตัวอย่างเช่น สั้นสลับยาวหรือดังยาวๆ เพียงครั้งเดียว นอกจากนี้เมนบอร์ด ที่ใช้ไบออสต่างยี่ห้อกันเสียงที่เกิดขึ้นก็จะบ่งบอกสาเหตุของปัญหาที่แตกต่างกันไปอีกด้วย



 
บันทึกการเข้า

Dionysus
สมาชิกเว็บ

ออนไลน์

กระทู้: 249


   
Re: เรื่องน่ารู้และวิธีตรวจเช็คเมนบอร์ด
? ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2011, 10:50:56 AM ?
อาการเสีย ของ mainboard
1. เปิดไม่ติดมีหลายสาเหตุ
    เปิดไม่ติด เกิดจาก ไม่มีไฟ 5Vsb(สายซัพพลายสีม่วง) ไม่มีไฟ 5V PowerON(สายซัพพลายสีเขียว)
     วิธีแก้ ลองเปลี่ยนซัพพลาย ใหม่ดูว่าไฟมาหรือเปล่า ถ้ามาก็ ใช้ได้ ถ้าไม่มา แสดงว่า ต้องมี อุปกรณ์ใดๆในบอร์ด Shot แต่ถ้า ไม่มีไฟ 5Vsb(สายซัพพลายสีม่วง)มาปกติ แต่
ไม่มีไฟ 5V PowerON(สายซัพพลายสีเขียว) มาแสดงว่า ต้องลองเช็คเฟต ที่ เป็น ไฟ CPU บริเวณ ข้าง Socket CPU ดูน่าจะมี ตัว Shot อยู่ บางตัว
แต่ถ้า ไม่มี ไฟไรช๊อตเลย ลองเปลี่ยน Crystal 32.768 KHz ดูก่อนเลย อาจจะเปิดติด ได้ ถ้ามี Scope ก็ลองวัดสัญญาณ ดูว่า มีสัญญาณ Clock มา ครบ 32.768 KHz หรือเปล่า
แล้วอีกอย่าง ที่ เป็นเทคนิคพิเศษ ลอง เช็ค IO ว่า ร้อนเกินปกติ มือ จับได้หรือเปล่า ถ้าร้อนเปลี่ยนได้เลย ถ้าไม่รอน ต้องเช็ค ตาม Manual ดูว่า IO ปกติหรือเปล่า ลองเช็คที่ขา IO ตรง 5Vsb ดูถ้า Shot ก็เปลี่ยนได้เลย
ถ้า ลองเปลี่ยนทุกอย่าแล้ว ไม่หาย ลองจับ South Brige ดูว่าร้อนหรือเปล่า ถ้าร้อน ก็ต้องเปลี่ยน South Brige แต่ถ้าไม่ร้อน ลองเช็ค ที่ Panal PowerOn ตรงที่เรา ทริกเปิดเครื่องนั่นแหละ ว่ามีไฟ 5V
หรือบางรุ่น บอร์ด จะมี 3.3 V ถ้าไฟมา ไม่ถึง หรือมาแค่ 1V กว่า ๆลองเช็ค ไฟ Regulator จาก 5V เป็น 3.3V ถ้าเปลี่ยน Regulartor แล้วไม่หาย แสดงว่าSouth Brige
เสียแน่นอน หรือไม่ก็เปลี่ยน  Regulator จาก 5V เป็น 3.3V แล้ว South Brige ร้อนขึ้นมาเลย ก็แสดงว่า South Brige เสียได้เหมือนกัน
2. อาการ ดีบัคขึ้น 00 หรือ FF คืออาการไม่บูต บางรุ่นขึ้น D0
      อาการดีบัคขึ้น 00 หรือ FF แล้วไม่วิ่งไปใหนเลย มีได้หลายสาเหตุ
2.1 คือ Bios เสีย หรือไฟล์ใน Bios เสียหาย ก็สามารถแฟตไบออส ได้จากเครื่องแฟต หรือ ไม่ก็งัดไบออส จาก บอร์ดรุ่นเดียวกัน มาลองเปลี่ยนดู ถ้าติดปกติ ก็ต้องแฟตไบออสใหม่
การแฟตไบออสมีหลายวิธี แล้วก็มีสอนหลายเว็ป ลองเข้าไปดูกันได้คับ แต่ร้านของเรา ใช้เครื่องแฟต คือ ถอดไบออสมาแฟต กับเครื่องแล้ว ใส่กลับเข้าไปใหม่ได้เลย ไม่ต้องกลัวว่าจะแฟตผิด แฟตซ้ำได้ตลอด
2.2 IO เสีย เป็นสาเหตุหนึ่ง ในการ ทำให้ ดีบึคขึ้น 00 หรือ FF ส่วนมาก IO มีหลาย รุ่น แต่ส่วนมากมี 2 ยี่ห้อ คือ WinBond กับ ITE ส่วนมาก IO เสีย หาได้ง่ายๆเพราะ จะร้อนมาก่อนเลย
แต่ถ้าไม่บูต ต้องเช็คที่ขา ดาต้า ว่าดาต้าเข้า แล้วดาต้าไม่ออก แต่ Clock ไฟต่างๆ  5V 3.3V 12 V เข้าปกติ ก็แสดงว่า IO เสียได้เหมือนกัน แต่ที่ร้าน B.B.Com มีการ์ด Test ว่า IO เสียหรือเปล่า ได้เลย
โดยไม่ต้องวัดให้เสียเวลา โดยการเสียบการ์ด แทน IO โดยมีไบออส อยู่ในการ์ดเรียบร้อย ถ้า ทุกอย่างปกติ แต่ ต้อง ใส่ Bios ที่ตรงรุ่นกับ บอร์ดนั้นๆ ไว้ในการ์ด IO จะสามาถบูตเข้าวินโดวส์ได้เลยโดยการตัดการทำงานของไบออส ในบอร์ดออก แล้วไปทำงานที่ ไบออสในการ์ด แทน แต่
ถ้าเปลี่ยน IO ที่ บอร์ด ก็จะทำงานได้ปกติ
2.3 อาการ บอร์ด ดีบัคขึ้น D0 ส่วนมาก
      สาเหตุเป็นเพราะ ระบบ Data หรือ Address ของ  North Bridge กับ Socket CPU ขาดหรือไม่ต่อกัน
อาการแก้ง่ายๆ โดยการ เปลี่ยน Socket CPU ใหม่ หรือลองขยับ ดูว่า ล๊อก CPU กับไม่ล๊อก CPU จะทำให้บอร์ดติดหรือเปล่า ถ้า ไม่ล๊อกแล้วติด ก็แสดงว่า Socket CPU เสียหรือเปล่าหรือ ถ้ากด North Bridge แล้วทำงานได้ ก็แสดว่า North Bridge หลวม ต้องเปลี่ยน
หรือไม่ก็ Re Built North Bridge ใหม่ เผื่อ บอล ตะกั่วใน North Bridge ไม่เชื่อประสานกัน บางจังหวะ หรือไม่ก็ สัญญาณไฟ CPU ไม่เรียบพอ ก็ต้องลองเปลี่ยน Regulartor โดยต้องมี มิเตอร์วัด Ripple ว่า ได้มาตรฐานหรือเปล่า ก่อนจะเปลี่ยน Regulartor CPU

3.อาการระบบ Ram เสีย ง่ายๆมีหลายสาเหตุ เช่น ดีบัคขึ้น C0-C5 D3-D7 E0-ED  หรือไม่ก็ 90แล้วดับ เปิดอีกที ติดแต่ค้างที่ AD แยกไว้ตามประเภทกว่างๆไว้ดังนี้
  3.1 อาการ C0-C5 ส่วนมาก เป็นได้ ที่ Clock ของระบบแรมไม่มา หรือมาน้อย ไม่สามารถทำงานได้ ถ้าเป็น DDR ต้องดูที่ขา 7-8 นับมาจาก ด้านบน ทางด้านร่องกว้าง จะมี Clock ตั้งแต่ 100-133-166-200 แต่ แรมมันเอามาคูณ 2 อีกที
หรือไม่ก็ Capacitor บวม บริเวณแรม ทำให้ Clock มา แต่ไม่เรียบ หรือ เป็นลูกไม่สวยทำให้แรมรับไม่ได้ ถ้ามี Scope ก็สามารถดูลูก คลื่นได้ โดยตรง ถ้าไม่มีก็ ต้องเปลี่ยน Clock Buffer ดู ก็จะหาย
  3.2 D3-D7 ส่วนมาก มาจาก ไฟ เลี้ยงแรม มาไม่พอ หรือมาน้อย หรือมี Ripple มามากเกินไปต้องดูหรือวัดที่ Regulartor ที่เป็นแฟต ส่วนมากจะมี เบอร์ 9916H B1202 3055LD 45N02 A2039 และอีกหลายเบอร์ แต่ถ้ามีรอยใหม้เปลี่ยนได้เลย เสียแน่ๆ
แต่ถ้าไม่มีรอยใหม้ ต้องเช็ค ว่า Shot หรือเปล่า หรือ ลองวัดดู ต้องมีไฟ เข้า 3.3V แล้วไฟทริกต้องมีประมาณ 3.5-4.5 V ถ้าไม่มีไฟทริกต้องมองหา ออฟแอม ว่ามีรอยใหม้หรือเปล่าถ้าทุกอย่างมาครบ แต่ไฟไม่ออก 2.5-2.8V ก็เปลี่ยน แฟตแรมได้เลย
  3.3 อาการ E0-ED ลองขัด Slot แรมดู โดยใช้ น้ำยาพิเศษ แห้งเร็ว ทำให้ Slot Ram สะอาด ทำให้บูตได้ปกติ ถ้าไม่ได้จริง ๆต้องเปลี่ยน North Bridge เพราะ สายData หรือ Address ของ Ram ต่ออยู่กับ North Bridg หรือไม่ก็ Re Built North Bridge เผื่อ บอลตะกั่วไม่ต่อกันจริงๆ
ระหว่าง บอร์ดกับ  North Bridge
4. อาการ ดีบัค ค้างที่ 2A ส่วนมาก จะเป็นอาการของบอร์ด ไม่แสดงผลภาพ หรือ การ์ดจอไม่ทำงาน ให้ลองหา ทรานซิสเตอร์เล็กๆ ข้าง Slot AGP จะมีอยู่ 2 ตัวไว้ ดีเทค ว่ามี VGA เสียบอยู่หรือเปล่า ถ้าตัวนี้เสียหรือ ปริ้นล่อนก็ไม่สามารถมองเห็นการ์ด จอ VGA ที่เสียบอยู่กับบอร์ดได้ หรือไม่ก็ Slot AGP บนบอร์ด เสีย หรือเข็ม ใน Slot AGP หักหรืองอ
ก็ต้องเปลี่ยน Slot AGP ก็จะหายเป็นปกติ
บันทึกการเข้า

Dionysus
สมาชิกเว็บ

ออนไลน์

กระทู้: 249


   
Re: เรื่องน่ารู้และวิธีตรวจเช็คเมนบอร์ด
? ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2011, 10:53:13 AM ?
การซ่อม Mainboard อาการเปิดไม่ติด
Mainboardที่มีอาการเปิดไม่ติดเกิดได้จากหลายสาเหตุนะครับตอนนี้ผมจะเสนอวิธีการเช็คเบื้องต้นให้ได้ทราบกันก่อน อย่างแรกสุดที่เราต้องทำคือตรวจดูก่อนนะครับว่ามีอุปกรณ์ใดบนMainboardแตกหรือไหม้หรือเปล่านะครับเจอก็ง่ายหน่อย จัดการเปลี่ยนได้ทันทีส่วนมากจะเป็นพวก Capacitorที่มันปูดบวมบางทีปริออกมาให้เห็นกันเลยหรือIcRecgulateที่มันยังไหม้ หรือว่าช็อตอยู่ ส่วนมากจะเป็นไฟ แปลงจาก 5V มาเป็น 3.3ไม่ก็เราวัดที่PanalPowerก็ได้คับ
      ลำดับต่อมาถ้าไม่มีอะไรที่เสียหายแตกหักไหม้ที่มองเห็นด้วยตาเปล่าแล้วให้เราทำการสตาร์ทMainboardtick ดูว่าพัดลมหมุนหรือไม่ถ้าพัดลมไม่หมุนก็จะแสดงว่ามีอุปกรณ์บางอย่างที่ยังช็อตอยู่ส่วนมากจะเป็นตัวIC-Recgulate นี่แหละครับตัวเจ้าปัญหา(ศึกษาหลักการทำงานได้จากหัวข้อการทำงานของIC-Recgulate)ส่วนมากไอซีพวกนี้จะช็อตอยู่ทำให้Mainboard ทริกไม่ติดครับ ถ้าหากเราเช็คดูแล้วว่าไฟเข้าแล้วพัดลมหมุนปรกติทดลองเอามือแตะๆบริเวณพัดลมcpuว่าอุ่นหรือไม่ ถ้าเย็นเฉียบแน่นอนครับว่าไม่มีไฟจ่ายให้  cpu แต่นี้เป็นการซ่อมแบบลูกทุ่งนะครับโดยหลักการแล้วเราต้องใช้มิเตอรวัดไฟที่outputของRegulatorดูก่อนวิธีการวัดคือนำสายดำแตะที่ Goundส่วนใหนก็ได้ของMainboardแนะนำให้แต่บริเวณของส่วน port printer แล้วนำสายแดง แตะที่คอยด์ output (ลักษณะสีทองๆเป็นขดลวด)ดูว่ามีไฟออกมาหรือไม่ถ้าตัวใหนไม่มีไฟออกมาก็ไปวัดที่ตัวไอซีrecgulatได้เลยครับโดยปิด powersuppy ก่อนแล้วใช้โอมมิเตอร์วัดดูครับส่วนมากเข็มจะขึ้นทุกขาที่วัดหรือช็อตนั่นเองครับ
บันทึกการเข้า

Dionysus
สมาชิกเว็บ

ออนไลน์

กระทู้: 249


   
Re: เรื่องน่ารู้และวิธีตรวจเช็คเมนบอร์ด
? ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2011, 10:55:20 AM ?
คู่มือการใช้งานการ์ดตรวจสอบ Mainboard
POST CODE คือรหัสที่ BIOS ได้ส่งออกมาระหว่างที่เครื่องกำลังทดสอบระบบ (POWER-ON SELF-TEST หรือ POST เมื่อเราเริ่มเปิดเครื่อง และจะหยุดทำงาน
เมื่อเราปิดเครื่องหรือ รีเซ็ทเครื่อง ในขณะที่เครื่องทำการตรวจสอบ Hardware นั้นเช่น CPU,RAM,VGA หรือส่วนต่าง ๆ ของ MAINBOARD นั้นการ์ดตรวจสอบ
Mainboard ก็จะตรวจสอบและแสดงเป็นเลขฐานสิหก ออกมาทางพอร์ต ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหมายเลข 0080h และอาจจะเป็นหมายเลข 008h ในเคื่องคอมพิวเตอร์
บางรุ่นหรือบางยี่ห้อรหัสที่ bios ส่งออกมาจะมีค่าไม่ตรงเมื่อ bios ต่างยี่ห้อหรือต่างเวอร์ชั่นกัน
      จากหลักการข้างต้นจะเห็นได้ว่า การ์าดตรวจสอบ Mainboard จะนำเอารหัสที่ bios ส่งออกมาแสดงผลบน 7- Segment 2 หลัก ทำให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ข้อผิด
พลาดของ Hardwaer ของคอมพิวเตอร์ได้ โดยนำรหัสไปเทียบกับคู่มืออ้างอิง
      การใช้งานนั้นให้ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน จากนั้นเสียบการ์ดตรวจสอบ Mainboard ลงช่อง PCI ที่ว่าง โดยต้องแน่ใจว่าแน่นหรือยังจากนั้นจึงเปิดเครื่อง
แล้วสังเกตุค่าที่แสดงบน 7-segment 2 หลัก จะเป็นรหัสที่ bios ส่งออกมาโดยถ้า hardware ทำงานถูกต้องตัวเลขที่เสดงและมีการหยุดที่ค่าค่าหนึ่ง เมื่อคอมพิวเตอร์
เริ่ม boot ระบบ เช่น 00 ของ AMI BIOS และ FF ของ AWARD BIOS แต่ถ้ามีส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่ง ของ Hardware ทำงานผิดพลาด ตัวเลขที่แสดงบน
ึ7-segment จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง(ติดค้างที่ตัวเลขค่าใดค่าหนึ่ง) ซึ่งผู้ใชงานสามารถนำรหัสไปเปรียบเทียบเพื่อหาความหมาย ตามยี่ห้อหรือเวอร์ชั่นต่อไป
    การแจ้งข้อผิดพลาดของ bios นั้นจะแสดงข้อผิดพลาดออกมาทาง 7-segment หรือหน้าจอดิจิตอลเพียง 2 หลักเท่านั้นก็สามารถวิเคราะห์ส่วนที่บกพร่องได้แล้ว
ในท้องตลาดยังมีที่เป็นชนิด 4 หลักซึ่งราคาจะสูงกว่า 2 หลัก ในทางปฏิบัติแล้วเลข 4 หลักนั้นไม่มีความจำเป็นเพราะ2 หลักเราก็จะสามารถวิเคราะห์ได้แล้วครับ
เพื่อความแม่นยำรายละเอียดของความหมาย code ท่านสมารถดูได้ที่     www.bioscentral.com
ตัวอย่าง code ที่แสดงออกมาและความหมายของ code
อาการที่เห็นทั่วๆไปของ บอร์ดที่ซ่อมประจำ


CODE ความหมาย
00ไม่ก็ FF บางรุ่นจะไม่มีไฟออกมาเลยไม่มีตัวเลข ไม่มีการส่งสัญญาณออกมา ตรวจสอบ CPU IO หรือไม่ก็ไฟต่างๆที่บอร์ดให้มาปกติเสียก่อน
C0-C7 ลองแฟตไบออสดู ไม่ก็ ลองเช็ค ระบบ แรมไม่ก็  R ที่แรมต่อกับ N/B
D0 ลองตรวจสอบ ไฟ CPU ว่าปกติหรือเปล่า ไม่ก็ Socket CPU ว่าต่อกับ CPU จริงหรือเปล่า
D1-D7 ลองเช็ค ระบบแรม ไม่ก็ ไฟแรม สล๊อตแรมว่าปกติหรือเปล่า
90-AD สลับกัน แล้ว 90 จะดับ แต่จะค้างที่ AD แสดงว่าData ของแรมไม่ต่อ กับ N/B ลองขัด Slot แรมดูถ้าไม่หายก็แสดงว่า Address บางขาของ Ram Shot ต้องเปลี่ยน N/B
2A ส่วนมากเป็นที่ Slot AGP เสียไม่ก็ ทรานซิสเตอร์ข้างๆ AGP เสีย เปลี่ยนทรานซิสเตอร์ก็น่าจะหาย
75-85 เข้าไบออสไปแล้ว
00หรือ FF หลังจากนั้นน่าจะเข้าวินโดวส์ไปแล้วถือว่าปกติแล้ว FF BOOT ปรกติ 
****ส่วนเพิ่มเติมสำหรับ Code Test  Mainboard
CODE : ความหมายของรหัส Code
00 : ไม่มีการส่งสัญญาณออกมา ตรวจสอบ CPU
01 : กระบวนการทดสอบ CPU รอบที่ 1
02 : กระบวนการทดสอบ CPU รอบที่ 2
04 : ทดสอบการรีเฟชของ Memmory ต่าง ๆ
05 : กระบวนการวิเคราะห์ Keyboard controler
07 : เช็คระบบการจ่ายไฟ bios battery backup
0B : ทดสอบ cmos checksum
0C : ระบบค้นการการเชื่อมต่อของ Keyboard
0D : ค้นหาการเชื่อมต่อ VGA CARD
0E : ทดสอบหน่วยความจำบน VGA CARD
0F : ทดสอบ DMA controller,bios checksum,keyboard detect
11 : ทดสอบระบบ DMA controller
12-13 : Reserved[สำรอง]
14 : ทดสอบวงจร timer
40 : ทดสอบระบบป้องกันไวรัส
41 : วิเคราะห์ FLOPPY
42 : วิเคราะห์ HARD DRIVE
43 : DETECT และวิเคราะห์ serial และ parallel ports
45 : ทดสอบการเข้ากันได้ของ cpu กับ Mainboard
4F : ป้องกันพาสเวิดร์
FF : BOOT ปรกติ
*Code อื่นๆ ตามคู่มือ

(ทั้งนี้เพื่อความแม่นยำท่านสามารถตรวจสอบ CODE และรายละเอียด รุ่น bios เวอร์ชั่น และเปรียบเทียบ CODE ได้ที่ http://www.bioscentral.com)

Code ยอดนิยมที่ขึ้นประจำเวลาใช้งาน
C0-C7
ลองแฟลชไบออสดู ไม่ก็ แล้วลองตรวจสอบระบบอีกครั้ง บางครั้งแรมอาจติดต่อกับ N/B ไม่ได้
D0
ลองตรวจสอบไฟ CPU ว่าปกติหรือเปล่า หรือไม่ก็ซ็อกเก็ต CPU ว่าต่อกับ CPU จริงหรือเปล่า
D1-D7
ลองตรวจเช็คแรม ไม่ก็ ไฟแรม สล็อตเสียบแรมแน่นหรือไม่
90-AD
สลับกัน แล้ว 90 จะดับ แต่จะค้างที่ AD แสดงว่า Data ของแรมไม่สามารถติดต่อกับ N/B ได้ แนะลองใช้แปรงทาสีทำความสะอาด
ทีช่องสัญญาณของสล็อกแรมดู ถ้ายังไม่หายก็แสดงว่า Address บางขาของ Ram เกิดการซ็อต ต้องเปลี่ยน N/B
2A
ส่วนมากเป็นที่สล็อต AGP/PCI-E เสีย ไม่ก็ หรือตัวทรานซิสเตอร์ข้างๆ AGP/PCI-E เสีย แนะนำเปลี่ยนทรานซิสเตอร์ก็น่าจะหาย
75-85
เข้าไบออสไปแล้วตั้งค่าเป็น Set Default ที่มาจากโรงงาน
00(แล้วแต่ยี่ห้อBios) หรือ FF
ถ้าปรากฏเลขฐานสิบหกตัวนี้ถือว่าเมนบอร์ดปกติ

ประโยชน์และคุณสมบัติ
? ใช้วิเคราะห์อาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเมนบอร์ดได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 10 วินาที ทำให้ประหยัดเวลาทำงาน และประหยัดค่าใช้จ่าย
? ใช้ได้กับเมนบอร์ดทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ เช่น ASUS, GIGABYTE, ECS, ABIT, MSI เป็นต้น หรือเมนบอร์ดที่ใช้ CPU ตระกูล Pentium, AMD, VIA Cyrix
? เป็น interface แบบ PCI 32 Bit ใช้ได้กับ Mainboard ทั่วไปที่มี Slot PCI
? แสดงผลด้วย 7- segment 2 หลัก ด้านหน้าและด้านหลัง
? LED แสดงสถานะ การทำงานของแรงดันไฟ +5V,+3.3V,+12V,-12V
? LED แสดงสถานะ Standby ของเมนบอร์ด

??สำหรับนักคอมพิวเตอร์มือสมัครเล่น??
? ช่วยให้คุณทราบว่าหลังจากที่คุณเปิดสวิทซ์เพาเวอร์แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอะไรบ้าง
? ช่วยให้คุณแก้ไขอาการเสียเบื้องต้นของคอมพิวเตอร์ให้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้งด้วยตนเองได้
? ช่วยทำให้คุณมีโอกาสพัฒนาทักษะสู่การเป็นนักคอมพิวเตอร์แบบมืออาชีพได้อย่างรวดเร็ว
? ช่วยทำให้คุณประหยัดเวลาและเงินในกระเป๋าคุณ

??สำหรับนักคอมพิวเตอร์มืออาชีพ??
? ช่วยทำให้ประหยัดเวลาในการค้นหาสาเหตุอาการเสียอันแท้จริงของคอมพิวเตอร์
? ช่วยในการวิเคราะห์อาการเสียของเมนบอร์ดแบบเจาะจงอาการเสียได้ว่าเสียที่จุดใด
? ช่วยในการแยกประเภทความรุนแรงของอาการเสียว่าอยู่ในระดับใด
? ใช้ในการวิเคราะห์อาการเสียในระดับ Professional ด้วยการอ่านลักษณะสัญญาณต่างๆ
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs