Linux (ลีนุกซ์) command เบื้องต้น

เริ่มโดย admin, กรกฎาคม 28, 2021, 06:46:57 AM

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

admin

ปกติ โอเอสเป็นแค่หน้าอินเทอร์เฟซดีฟอลต์สำหรับผู้ใช้งานในการควบคุมกระบวนการ หรือทำงานต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีหลายตัวที่ได้รับความนิยมไม่ว่าจะเป็น Windows , macOS, หรือ Linux (ลีนุกซ์)

ซึ่งลีนุกซ์เองก็มีทั้งอินเทอร์เฟซแบบกราฟิกสวยงามหรือ GUI กับอินเทอร์เฟซแบบใช้พิมพ์คำสั่งเป็นบรรทัดๆ หรือ CLI ซึ่งประการหลังนี้เองที่ทำให้ลีนุกซ์เป็นสวรรค์ของนักพัฒนาทั้งหลาย

เหตุผลหลักที่ลีนุกซ์ตอบโจทย์สายอาชีพคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะสายเทคนิค เพราะทั้งฟรีและเป็นโอเพ่นซอร์ส รวมทั้งความคุ้นเคยกับการป้อนพิมพ์คำสั่งแบบเทอมินัลของโอเอสตัวอื่นๆ โดยเฉพาะบรรพบุรุษอย่าง DoS อีกอย่างโอเอสตระกูลลีนุกซ์มีหลากหลายยี่ห้อหรือดิสโทรมาก แต่ทั้งหมดก็ใช้คำสั่งแบบเดียวกันหรือคล้ายกันเป็นส่วนใหญ่

ด้วยความนิยมในวงการอย่างมาก ทำให้หลายบริษัทเลือกพัฒนาโซลูชั่นบนเซิร์ฟเวอร์ลีนุกซ์เพื่อให้มีคนจำนวนมากคอยซัพพอร์ททางเทคนิค โดยเฉพาะบริษัทใหญ่อย่าง Canonical, SUSE, และ Red Hat และแน่นอนว่าด้วยความยืดหยุ่นที่เอาชนะโอเอสมีแบรนด์อย่างวินโดวส์และแมคจึงทำให้พัฒนาโปรแกรมได้ง่ายและเร็วกว่ามาก หรือแม้แต่เอาเคอร์เนลมาปรับแก้เป็นโอเอสลีนุกซ์แบบฉบับของตัวเองก็ย่อมได้

และสำหรับนักเขียนโปรแกรมแล้ว ลีนุกซ์ถือเป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นหัวใจของสายอาชีพตนเองเลยทีเดียว ดังนั้นโปรแกรมเมอร์มือใหม่จึงควรทำความคุ้นเคยกับคำสั่งพื้นฐานบนลีนุกซ์ ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้บนอินเทอร์เฟซแบบคอมมานด์ไลน์ของระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า Shell เพื่อทำงานทั่วไปอย่างการสร้างหรือลบไฟล์และโฟลเดอร์ ทาง TechNotification.com จึงได้รวบรวมรายการคอมมานด์พื้นฐานของลีนุกซ์ที่ต้องรู้เพื่อใช้ทำมาหากินดังต่อไปนี้

1. ls (ตัวอักษรแอลเอสติดกัน)
ย่อจากคำว่า list จึงเป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายการไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมดที่อยู่บนไดเรกทอรีปัจจุบัน ซึ่งถ้าใช้คำสั่ง ls โดยไม่ได้ตามด้วยพารามิเตอร์ใดๆ ก็จะแสดงรายการเนื้อหาของไดเรกทอรีในรูปแบบย่อมาให้ แต่ถ้าต้องการให้แสดงข้อมูลเต็มๆ หรือไฟล์ใดเป็นพิเศษ ก็จะพิมพ์พารามิเตอร์ต่อท้ายในรูป ls (ออพชั่นที่ต้องการ) (ชื่อไฟล์)

2. cd
ย่อมาจาก change directory (คำสั่งถอดมาจาก DoSที่คุ้นเคยกันเลย) จึงใช้ในการเปลี่ยนไปทำงานบนไดเรกทอรีอื่น แค่พิมพ์ cd ตามด้วยชื่อไดเรกทอรีที่ต้องการ หรือแม้แต่การออกมาอยู่ในไดเรกทอรีแม่ก่อนหน้า ด้วยการพิมพ์ว่า cd .. (เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ แทนจุดสองจุดนี้เป็นชื่อไดเรกทอรีแม่ของไดเรกทอรีปัจจุบัน)

3. pwd
ย่อจาก Print Working Directory จึงเป็นคำสั่งไว้แสดงชื่อไดเรกทอรีปัจจุบัน

4. mkdir
ย่อจาก Make Directory จึงเป็นคำสั่งใช้สร้างไดเรกทอรีใหม่ เพียงพิมพ์mkdirตามด้วยชื่อไดเรกทอรีที่ต้องการสร้าง

5. rmdir
ย่อจาก Remove Directory จึงเป็นคำสั่งใช้ลบไดเรกทอรี เพียงพิมพ์ rmdirตามด้วยชื่อไดเรกทอรีที่ต้องการลบ

6. cp
ย่อจาก Copy เป็นคำสั่งคัดลอกไฟล์ไปไว้ในโฟลเดอร์เป้าหมายที่ต้องการ เพียงพิมพ์ cpตามด้วยชื่อไฟล์ (กี่ไฟล์ก็ได้ ให้เว้นวรรคคั่น) แล้วตามด้วยชื่อโฟลเดอร์ แต่ถ้าต้องการคัดลอกทุกอย่างในไดเรกทอรี ทั้งไฟล์และไดเรกทอรีย่อย ให้ใช้ออพชั่น –r (ย่อจาก Recursive) ก่อนชื่อโฟลเดอร์ที่จะก๊อป และชื่อโฟลเดอร์ปลายทาง

7. rm
ย่อจาก Remove ใช้ลบไฟล์ ซึ่งปกติลีนุกซ์จะมีการถามซ้ำให้แน่ใจ แต่ถ้ารำคาญก็ให้ใส่ออพชั่น –f (ย่อจาก force) ส่วนการใช้ออพชั่น –r จะเป็นการลบไดเรกทอรีและทุกอย่างที่อยู่ในนั้นด้วย ดังนั้นถ้าใช้ออพชั่นทั้งสองตัวพร้อมกัน เช่น rm –rfก็อาจลบทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้าโดยที่ไม่ทันตั้งตัวเลยก็ได้ จึงต้องระวังและตั้งสติก่อนใช้ออพชั่นเหล่านี้

8. mv
ย่อจาก Move เป็นคำสั่งไว้ใช้ย้ายไฟล์ไปโฟลเดอร์ที่ต้องการ มีโครงสร้างพารามิเตอร์คล้ายคำสั่ง cp

9. find
ใช้ค้นหาไฟล์ในไดเรกทอรีเป้าหมาย โดยพารามิเตอร์แรกถัดจากคำสั่งคือชื่อไดเรกทอรีเป้าหมายที่จะค้นหาข้างใน แล้วจึงต่อด้วยออพชั่นสำหรับพิมพ์พารามิเตอร์ที่ต้องการค้นหา เช่น –name ตามด้วยข้อความที่อยากเสิร์ช

10. kill
ใช้ปิดโปรเซสที่ต้องการ ซึ่งต้องตามด้วยพารามิเตอร์ที่เป็นไอดีของโปรเซสนั้นๆ (ดูรายการเลขโปรเซสที่รันอยู่ได้โดยใช้คำสั่ง top)

11. sudo
ย่อมาจาก Superuser do หรือ Switch User do ซึ่งการใช้คำสั่งนี้นำหน้าคำสั่งอื่นๆ ก็คือการให้รันคำสั่งนั้นในฐานะสิทธิ์ระดับ Superuser(ถ้าไม่พิมพ์ออพชั่นอื่น) หรือในฐานะผู้ใช้อื่น

12. passwd
เป็นคำสั่งที่ใช้เปลี่ยนรหัสผ่านของชื่อผู้ใช้ที่ต้องการ หรือผู้ใช้ปัจจุบัน ด้วยโครงสร้างคำสั่งดังนี้: passwd (ออพชั่น ถ้ามี) (ชื่อผู้ใช้อื่นถ้าต้องการ)

13. reboot
เป็นคำสั่งให้ระบบปิดการทำงานตามขั้นตอนอย่างปลอดภัย เหมือนกดชัทดาวน์บนวินโดวส์แทนที่จะถอดปลั๊ก

14. clear
เป็นคำสั่งล้างการแสดงข้อมูลบนหน้าจอ ให้หน้าจอดูโล่งๆ พร้อมรับคำสั่งใหม่อย่างสะอาดตา
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs

    

admin

การจัดการ Server (Linux) ผู้ดูแลจะต้องมีทักษะและความเข้าใจ ซึ่งแต่ละคำสั่งล้วนแต่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน หลายท่านอาจเคยลองใช้งานกันมาบ้างแล้ว ในบทความนี้เราจะรวบรวมคำสั่งเบื้องต้น และอธิบายวิธีการใช้งานง่ายๆ สำหรับผู้ดูแล server ที่ยังไม่มีประสบการณ์

cd
คำสั่งเริ่มต้นการใช้งานบน server เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเข้าหรือเปลี่ยนไดเร็กทอรี

– การเข้าไปที่ไดเร็กทอรี ตัวอย่างเช่น ต้องการเข้าไปที่ไดเร็กทอรี /etc

# cd /etc
– เมื่อต้องการกลับไปที่ ~ /

# cd ..
– เพื่อออกจากไดเร็กทอรีนี้เพียง 1 ชั้นเท่านั้น แต่ถ้าหากกำลังทำงานอยู่ภายใน path /etc/tes1/test2/test3 สามารถกลับไปที่ /etc โดยใช้คำสั่ง

# cd ../../../
cp
คำสั่งสำหรับสำเนาไฟล์หรือโฟล์เดอร์ไปยัง path อื่นๆ

– สำเนาไฟล์ชื่อ test.txt จากไดเร็กทอรี /tmp ไปยังไดเร็กทอรี /home

# cp /tmp/test.txt /home
– นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนชื่อไฟล์จากคำสั่ง cp ได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนชื่อไฟล์ test เป็นชื่อ test1 และย้ายจาก path /tmp ไปยัง path /home โดยใช้คำสั่ง

# cp /tmp/test.txt /home/test1
grep
คำสั่งสำหรับค้นหาคำ ตามเงื่อนไขที่ต้องการ

– ค้นหาบรรทัดที่มีคำว่า ftp โดยเพิ่ม -i ต่อท้ายเพื่อค้นหาแบบไม่สนใจว่าจะเป็นตัวพิมพ์เล็กหรือตัวพิมพ์ใหญ่ จากไฟล์ /tmp/messages

# grep -i 'ftp' /tmp/messages
ll
คำสั่งสำหรับแสดงไฟล์หรือโฟลเดอร์ภายในไดเร็กทอรี

– แสดงไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเร็กทอรี /etc หากต้องการให้เรียงไฟล์ปัจจุบันไปยังอดีต สามารถเพิ่ม -th ต่อท้าย

# ll
หรือ
# ll -th


cat
คำสั่งสำหรับแสดงข้อความในไฟล์

– อ่านข้อมูลจากไฟล์ tmp/test

# cat tmp/test


vi
คำสั่งสำหรับสร้างหรือแก้ไขไฟล์ข้อมูล

– หากต้องการเพิ่มข้อความภายในไฟล์ text.txt กด Esc 1 ครั้ง แล้วกด i เท่านี้ก็สามารถแก้ไขไฟล์ที่ต้องการได้ทันที และเมื่อแก้ไขข้อความเรียบร้อยแล้วต้องการ Save ให้กด Esc 1 ครั้ง แล้วกด :wq! หากไม่ต้องการ Save กด :q!

# vi tmp/text.txt
touch / mkdir
คำสั่งที่ใช้สำหรับสร้างไฟล์และไดเร็กทอรี

– สร้างไฟล์ชื่อ test ใน path /home

# touch /home/test
– สร้างไดเร็กทอรีชื่อ tmp ใน path /home

# mkdir /home/tmp
history
คำสั่งที่ใช้สำหรับดูประวัติการใช้ command line

– สามารถเพิ่มค่าตัวเลขต่อท้าย  ตัวอย่างเช่นใส่ค่า 50 ต่อท้าย เพื่อแสดง 50 คำสั่งย้อนหลังที่ใช้งานล่าสุด

# history 50
pwd
คำสั่งสำหรับแสดงว่าปัจจุบันอยู่ในไดเร็กทอรีใด

– ตัวอย่างเช่น แสดงผลลัพธ์ /home/test1/public_html

# pwd


cal
คำสั่งแสดงปฏิทิน และวันเดือนปี



date
คำสั่งแสดงวันที่ เวลาปัจจุบัน



chmod
คำสั่งสำหรับกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ แต่ละไฟล์จะมีทั้งหมด 3 ส่วน คือ เจ้าของ (Owner), คนในกลุ่ม (Group), คนทั่วไป (Other) การกำหนดสิทธิ์ของแต่ละไฟล์ ว่าสามารถ อ่านได้ เขียนได้ และประมวลผลได้ ซึ่งคำสั่งนี้จำเป็นมากสำหรับผู้ดูแลระบบ Webmaster

การกำหนดสิทธิ์มี 3 แบบ ดังนี้

R  มาจาก Read หมายถึง อ่าน
W มาจาก Write หมายถึง เขียน
X  มาจาก Execute หมายถึง ประมวลผล

ตัวเลขของ Mode

RWX = 7 อ่าน เขียน และประมวลผลได้
R-X   = 5 อ่านและประมวลผลได้
RW   = 6 อ่านและเขียนได้
R—   = 4 อ่านได้อย่างเดียว
–X    = 1 ประมวลผลได้อย่างเดียว
—     = 0 ไม่มีสิทธิ์

ยกตัวอย่างการกำหนดสิทธิ์และอธิบายความหมาย

RWXRWXRWX = 777 เจ้าของ สมาชิกกลุ่มเดียวกัน และคนทั่วไปมีสิทธิ์ทุกอย่าง
RWXR-XR-X     = 755 เจ้าของทำได้หมด ส่วนกลุ่มและคนทั่วไปอ่านและประมวลผลได้
RWXRWX—     = 770 เจ้าของ และสมาชิกกลุ่มเดียวกันมีสิทธิ์ทุกอย่าง
RWX——         = 700 เจ้าของเท่านั้นที่มีสิทธิ์ทุกอย่าง
R–R–R–            = 444 ทุกคนสามารถอ่านได้อย่างเดียว

– ตัวอย่างการใช้คำสั่ง กำหนดสิทธ์ให้กับไฟล์ชื่อ test จากค่าเดิม 644 เป็น 777

# chmod 777 test
ค่าเดิม 644



ค่าใหม่ 777



chown
คำสั่งสำหรับเปลี่ยนชื่อเจ้าของไฟล์

– จากคำสั่ง chmod ทำให้ทราบกันแล้วว่า แต่ละไฟล์จะมีทั้งหมด 3 ส่วน คือ เจ้าของ, คนในกลุ่ม และคนทั่วไป เมื่อเราต้องการจะเปลี่ยนเจ้าของ ก็สามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนเจ้าของไฟล์ test ให้เป็น user1 และอยู่ในกลุ่มของ admin โดยใช้คำสั่ง

# chown user1 admin test
chgrp
คำสั่งสำหรับเปลี่ยนชื่อกลุ่ม

– จากคำสั่ง chmod ทำให้ทราบกันแล้วว่า แต่ละไฟล์จะมีทั้งหมด 3 ส่วน คือ เจ้าของ, คนในกลุ่ม และคนทั่วไป เมื่อท่านต้องการจะเปลี่ยนกลุ่ม ก็สามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนกลุ่มของไฟล์ชื่อ test ให้กลุ่มเป็นชื่อ admin โดยใช้คำสั่ง

# chgrp admin test
mv
คำสั่งสำหรับย้ายไฟล์หรือโฟล์เดอร์

– เมื่อต้องการจะย้ายโฟล์เดอร์ sample จาก path /home ไปยัง path /tmp

# mv /home/sample tmp/
– หากต้องการใช้คำสั่ง mv เปลี่ยนชื่อไฟล์หรือไดเร็กทอรีก็สามารถทำได้ ตัวอย่างเช่น ต้องการเปลี่ยนชื่อจาก sample เป็น example

# mv sample example
rm
คำสั่งสำหรับลบไฟล์หรือโฟล์เดอร์

–  ต้องการจะลบโฟล์เดอร์ example ออกจาก path /home

# rm -rf example
– ต้องการจะลบไฟล์ test ออกจากโฟล์เดอร์ example โดยใช้คำสั่ง

# rm -f test
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs

    

admin

การใช้งานคำสั่ง UNIX เบื้องต้น เด็กประถมก็ใช้เป็น
ls
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับ dirของDOS) มากจากคำว่า list
รูปแบบคำสั่ง ls [option] [file]
option ที่มักใช้กันใน ls คือ
-l จะแสดงผลลัพธ์แบบ Long Format ซึ่งจะแสดง Permission ของแฟ้มด้วย
-a จะแสดงแฟ้มข้อมูลทั้งหมด
-F จะแสดง / หลัง Directory และ * หลังแฟ้มข้อมูลที่ execute ได้
ตัวอย่างการใช้งาน
ls -l
ls -al
ls -F adduser
คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน adduser -g (group) -d (Directory) (User)
ตัวอย่าง adduser -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

cat
คำสั่งแสดงข้อความในFileของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS)
รูบแบบการใช้งาน cat
ตัวอย่าง cat /home/user1 | more อ่านข้อมูลจากไฟล์/home/user1ถ้ายาวเกินหน้าให้หยุดทีละหน้าจอ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

cp
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับสำเนาแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับcopyของDOS) มาจากคำว่า copy
รูปแบบคำสั่ง cp source target
ตัวอย่างการใช้งาน #cp test.txt /home/user1

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

cd
คำสั่งChange Directoryของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งCDของDOS)
รูบแบบการใช้งาน cd [directory]
ตัวอย่าง cd /etc [Enter]ไปDirectory etc
cd ..[Enter] ย้ายไปDirectoryอีก1ชั้น

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

chmod
คำสั่งChange Modeของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนสิทธิการเข้าถึงไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chmod [สิทธิ] (File)
ตัวอย่าง กำหนดสิทธิให้กับไฟล์ชื่อtest คือ chmod 754 test หรือ chmod go +r-w testให้กับไฟล์ทุกไฟล์ chmod o-r *
ตัวเลขMode rwx = 7 ; rw - =6 ; r-x =5 ; r- - = 4 ; - wx = 3 ; - w - = 2 ; - - x = 1 ; - - = 0
การกำหนดสิทธิกำหนดได้2ลักษณะคือ
1.กำหนดโดยใช้อักษรย่อกลุ่ม
2.ใช้รหัสเลขฐาน2แทนสิทธิ (1 คืออนุญาต)
กลุ่มผู้ใช้ User Group Other = ugo เช่น go-r-w+x คือกลุ่ม และคนอื่นไม่มีสิทธิอ่านเขียนแต่Runได้
สิทธิ์การใช้ -rwx rwx rwx = Read Write Execute
รหัสเลขฐาน 111 101 100 = 754 คือเจ้าของไฟล์ใช้ได้ครบ คน Group เดียวกันอ่านExecuteได้นอกนั้นอ่านได้อย่างเดียว

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

chown
คำสั่งChange Ownerของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chown [ซื่อเจ้าของไฟล์] (ชื่อFile)
ตัวอย่าง chown user1 filename คือเปลี่ยนเจ้าของไฟล์ชื่อ filename เป็นUser1
chown -R user1.root dirname คือเปลี่ยนทั้งเจ้าของไฟล์และกลุ่มไปพร้อมกันทุกไฟล์ใน Sub dirname.

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

echo
คำสั่งechoของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงข้อความ เหมือนกับ ECHOของDOS)
รูบแบบการใช้งาน echo (ข้อความที่ต้องการให้แสดงผล)
ตัวอย่าง echo my name is user1
echo Hello > /dev/tty2 ส่งข้อความ Hello ไปออกจอเทอร์มินอลที่2

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

gzip/gunzip
คำสั่งgzip/gunzipของระบบ Unix,Linux (เป็นการบีบอัดไฟล์หรือขยายบีบอัดไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน gzipหรือgunzip (-cdfhlLnNrtv19 ) [file]
ตัวอย่าง #gzip -9vr /home/samba/* บีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ ในSub /home/samba จะเปลี่ยนเป็นนามสุกล .gz
#gunzip -dvr /home/samba/* คลายการบีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ที่สกุล .gz ในSub /home/samba

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

exit
คำสั่ง exit ของระบบ Unix,Linux (ออกจากระบบยูนิกส์ )
รูบแบบการใช้งาน exit
ตัวอย่าง exit

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ifconfig
คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบกำหนดค่าNetworkของLan Card)
รูบแบบการใช้งาน ifconfig [option]
ตัวอย่าง #ifconfig

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

mkdir
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้าง directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า make directory
รูปแบบของคำสั่งmkdir mkdir [option] [file]
โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ
-m จะทำการกำหนด Permissioin (ให้ดูคำสั่ง chmod เพิ่มเติม)
-p จะทำการสร้าง Parent Directory ให้ด้วยกรณีที่ยังไม่มีการระบุ directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้
ตัวอย่าง
mkdir /home
mkdir -p -m755 ~/้home/user1

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

mv
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการย้ายแฟ้มข้อมูลและ Directory รวมถึงการเปลี่ยนชื่อด้วย (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า move
รูปแบบคำสั่ง
mv source target
ตัวอย่าง mv *.tar /backup
mv test.txt old.txt
mv bin oldbin

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

rmdir
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการลบ directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า remove directory
โครงสร้างคำสั่ง
rmdir [option] [file]
โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ -p จะทำการลบ Child และ Parent Directory ตามลำดับ
directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้ ตัวอย่าง rmdir /home

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

rm
ใช้ลบไฟล์หรือ directory โดยที่ยังมีข้อมูลภายในเทียบเท่า del และ deltree ของ dos
รูปแบบ $ rm [-irf] filename
rm -r dir_name ลบ dir_name โดยที่ dir_name เป็น directory ว่างหรือไม่ว่างก็ได้
rm -i * ลบทุกไฟล์โดยรอถามตอบ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

tar
เป็น คำสั่งเพื่อการ backup และ restore file ทั้งนี้การ tar จะเก็บทั้งโครง สร้าง directory และ file permission ด้วย (เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้าย หรือแจกจ่ายโปรแกรมบนระบบ UNIX) มาจากคำว่า tape archive
รูปแบบคำสั่ง tar [option]... [file]...
โดย option ที่มักใช้กันใน echo คือ
-c ทำการสร้างใหม่ (backup)
-t แสดงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแฟ้มที่ backup ไว้
-v ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผล
-f ผลลัพธ์ของมาที่ file
-x ทำการ restore
ตัวอย่าง tar -xvf data.tar

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

 

การใช้งานคำสั่ง UNIX พื้นฐาน
useradd
คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux (ใช้เหมือนกับคำสั่ง adduser)
รูบแบบการใช้งาน useradd -g (group) -d (Directory) (User)
ตัวอย่าง useradd -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

userdel
คำสั่งลบ User ออกจากระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน userdel [option] (Username)
ตัวอย่าง userdel -r root user1 ลบ User ชื่อ Login คือ User1 และ -r คือให้ลบ Home Directoryของ User1 ด้วย

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

-
คำสั่งกำหนดและแก้ไขรหัสผ่านของ User ของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน - [Username]
ตัวอย่าง - user1 (กำหนดรหัสผ่านให้ User1 ถ้าไม่พิมพ์ ชื่อ User ระบบUnixจะหมายความว่าแก้ไขรหัสผ่านของคนที่Loginเข้ามา)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

alias
คำสั่งกำหนดคำสั่งย่อของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่ง SETในDOSแต่สามารถใช้เปฝ้นคำสั่ง RUNได้)
รูบแบบการใช้งาน alias [ชื่อใหม่=ข้อความ]
ตัวอย่าง alias copy=cp กำหนดให้พิมพ์ copy แทนคำสั่ง cpได้

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

bash
คำสั่งเรียกใช้ Bourne again shellของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน bash
ตัวอย่าง bash [Enter] ( เรียกใช้ Bourne again shell)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

bc
คำสั่งเรียกใช้โปรแกรมคำนวณเลขของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน bc [-lwsqv] [option] [file]
ตัวอย่าง bc [Enter] 1+2 [Enter] 1^2 [Enter] a=3 [Enter] b=4 [Enter] a*b [Enter] x=2;y=5;x+y[Enter] [Ctrl-d] เพื่อออก
หมายเหตุ:คำสั่งนี้จะใช้ได้ต้องInstall Packet ลงไปก่อน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

cal
คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน cal
ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน)
cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

C Compiler
คำสั่งCompile ภาษาCของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS)
รูบแบบการใช้งาน cc [filename]
ตัวอย่าง cc /home/user1/industry.c จะสั่งให้ระบบCompile ภาษาC ไฟล์ชื่อ industry.c ที่ Directory /home/user1

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

chfin
คำสั่งChange your finger informationของระบบ Unix,Linux (เป็นการกำหนดข้อมูลของUser เช่น ชื่อเต็ม ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์)
รูบแบบการใช้งาน chfn [username]
ตัวอย่าง chfn User1 กำหนดรายละเอียดUser1

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

chgrp
คำสั่งChange Groupของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chgrp [-chfRv] (Group) (File)
ตัวอย่าง chgrp root /root/* เปลี่ยนGroupให้กับไฟล์ทุกไฟล์ในไดเรคทอรี่ /root ให้เป็น Group root

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

chsh
คำสั่งchshของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนShell ให้ User)
รูบแบบการใช้งาน chsh [Username]
ตัวอย่าง chsh user1 [Enter] /bin/bash [Enter]

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

clear
คำสั่งclearของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบข้อความบนจอภาพ คล้ายกับคำสั่ง clsใน dos)

รูบแบบการใช้งาน clear
ตัวอย่าง clear [Enter]

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

cal
คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน cal
ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน)
cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

mesg
mesg ดู status การรับการติดต่อของ terminal
mesg y เปิดให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้
mesg n ปิดไม่ให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

date
ใช้แสดง วันที่ และ เวลา
ตัวอย่าง date 17 May 2004

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

df
คำสั่งdf ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์)
รูบแบบการใช้งานdf [option] [file]
ตัวอย่าง df [Enter]

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

dmesg
คำสั่งdmesgของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงผลเหมือนตอน Boot)
รูบแบบการใช้งาน dmesg
ตัวอย่าง dmesg | more [Enter]
หมายเหตุ คำสั่งนี้ ใช้ตรวจสอบ เมื่อเกิดปัญหา เช่น Linux ไม่รู้จัก Driver CD-Rom หรือปัญหาอื่นๆ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ed
คำสั่ง ed ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file เหมือนกับคำสั่ง edlinของDOS)
รูบแบบการใช้งาน ed (fileName)
ตัวอย่าง ed /home/user/test (ออกกดq)
สำหรับคนที่ไม่ถนัดคำสั่งนี้แนะนำให้ใช้คำสั่ง picoหรือvi หรือemacsแทนได้เช่นกัน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

emacs
คำสั่ง emacs ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file )
รูบแบบการใช้งาน emacs (fileName)
ตัวอย่าง emacs /home/user/test (help กด Ctrl - h ; ออกกด Ctrl - x Ctrl - c)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

finger
คำสั่ง finger ของระบบ Unix,Linux (แสดงชื่อUserที่กำลังLoginเข้ามาแต่คำสั่ง Whoจะให้รายละเอียดดีกว่า)
รูบแบบการใช้งาน finger [username]
ตัวอย่าง finger user1 แสดงชื่อและรายละเอียด user1

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

fsck
คำสั่ง fsck ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่ง ตรวจสอบและซ่อมแซม Linux file system เหมือนกับคำสั่งScandisk ของDos)
รูบแบบการใช้งาน fsck [option]
ตัวอย่าง /sbin/fsck -a /dev/hd1

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ftp
คำสั่ง ftp ของระบบ Unix,Linux (เป็นโปรแกรมรับ-ส่งไฟล์ )
รูบแบบการใช้งาน ftp (IP or Name of FTP Server)
ตัวอย่าง ftp 132.209.1.2 [Enter]
Login:anonymous , -: Username@YourDomain.com
คำ สั่งที่เกี่ยวข้อง ls - ดูไฟล์ ; pwd -ดูdir. ที่อยู่ ;cd - เปลี่ยน dir ;lcd - เปลี่ยน local dir ;mput* -ส่งไฟล์ ;mget - รับไฟล์ ;bye - ออกgrep
คำสั่ง grep ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้ค้นหาตามเงื่อนไข )
รูบแบบการใช้งาน grep (option)
ตัวอย่าง grep -i ftp /etc/test ค้นหาบรรทัดที่มีคำว่า "ftp"ไม่สนใจพิมพ์เล็ก-ใหญ่ จาดไฟล์ /etc/testgroupadd
คำสั่ง groupadd ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเพิ่มรายชื่อกลุ่มของ User)
รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName )
ตัวอย่าง #groupadd staff สร้างกลุ่มของ User ชื่อ Staff เพิ่มให้ระบบ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

groupdel
คำสั่ง groupdel ของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบรายชื่อกลุ่มของ User)
รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName )
ตัวอย่าง #groupdel staff ลบกลุ่มของ User ชื่อ Staffออกจากระบบ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

halt
คำสั่ง halt ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้เครื่องหยุดทำงาน)
รูบแบบการใช้งาน halt [-n] [-w] [-d] [-f] [-I] [-p]
ตัวอย่าง #halt
คำสั่งที่เกี่ยวข้อง คือ Shutdown ; init0 , reboot

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

history
คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการดูประวัติการใช้คำสั่งในCommand line คล้ายกับการกดF7ในDOSคือเรียกใช้คำสั่งDos key)
รูบแบบการใช้งานhistory [n] [-r wan [filename] ]
ตัวอย่าง #history 20 ดูคำสั่งที่เพิ่งใช้ไป20คำสั่งที่แล้ว

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ipchains
คำสั่ง ipchains ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall)
รูบแบบการใช้งาน ipchains [parameter] command [option]
ตัวอย่าง #ipchains -L ดูสถานะการ Set IPchainsในปัจจุบัน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

jobs
คำสั่ง jobs ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall)
รูบแบบการใช้งาน jobs
ตัวอย่าง #sleep 20 & jobs

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

kill
คำสั่ง kill ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับยกเลิก Process)
รูบแบบการใช้งาน kill [option] (process ID)
ตัวอย่าง ps -A ดูหมายเลขที่ช่อง PIDของProcess ที่ต้องการลบ
Kill -9 nnn แทนnnnด้วยหมายเลขPID -9 คือบังคับฆ่าให้ตาย

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

login
คำสั่ง login ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งการเข้าระบบหรือเปลี่ยน User Login) รูบแบบการใช้งาน login [fp] (UserName)
ตัวอย่าง #login:root

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

more

คล้าย กับคำสั่ง cat ไม่เหมาะกับการดูข้อมูลที่มีความยาวมากๆ ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนา more ขึ้น เพื่อช่วยให้สามารถดูข้อมูลที่มีขนาดยาวได้เป็นช่วงๆ
รูปแบบคำสั่ง more file
ภายในโปรแกรม more จะมีคำสั่งเพื่อใช้งานคราวๆ ดังนี้
= แสดงเลขบรรทัด
q ออกจากโปรแกรม

เลื่อนไปยังหน้าถัดไป เลื่อนไปยังบรรทัดถัดไป
h แสดง help
ตัวอย่าง more test.txt

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

man
คำสั่ง man ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งแสดงข้อความ อธิบายการใช้คำสั่ง)
รูบแบบการใช้งานman (Command)
ตัวอย่าง #man ls
หมายเหตุ เมื่อต้องการออก กด q ;ใช้[Spacebar] เลื่อนหน้าถัดไป ; ใช้ลูกศรขึ้นดูหน้าผ่านมา

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

mount
คำสั่ง mount ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบ)
รูบแบบการใช้งาน mount (-t type) DeviceDriver MountPoint
ตัวอย่าง
# การ Mountแบบที่1 CdRom mount -t iso9660 /dev/cdrom /mnt/cdrom

หรือ
# mkdir /mnt/cdrom
# mount_cd9660 /dev/cd0a /mnt/cdrom
#การ Mount CdRom แบบที่2 mount /dev/cdrom (เมื่อmountแล้วCDจะอยู่ที่ /mnt/CdRom ยกเลิกดูคำสั่ง Unmount)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

talk
คำ สั่งที่ใช้สำหรับการพูดคุยระหว่างผู้ใช้ด้วยกันบนระบบ ซึ่งผู้ใช้ทั้งทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องพิมพ์คำสั่ง Talk ถึงกันก่อน จึงจะเริ่มการสนทนาได้
รูปแบบคำสั่ง talk user[@host] [tty]
กรณี ไม่ระบุ host โปรแกรมจะถือว่าหมายถึงเครื่องปัจจุบัน (นอกจากนี้ยังมีคำสั่ง ytalk ซึ่งสามารถพูดคุยได้พร้อมกันมากกว่า 2 คน) ซึงบางกรณีเราอาจจะต้องระบุ tty ด้วยหากมีผู้ใช้ Log in เข้าสู่ระบบด้วยชื่อเดียวกันมากกว่า 1 หน้าจอ
ตัวอย่าง talk m2k@nanastreet.comwrite
คำสั่งใช้เพื่อการส่งข้อมูลทางเดียวจากผู้เขียนไปถึงผู้รับบนเครื่องเดียวกันเท่านั้น
รูปแบบคำสั่ง write user [tty]
เมื่อ มีการพิมพ์คำสั่ง write ผู้ใช้จะเห็นข้อความซึ่งจะแสดงว่าข้อความดังกล่าวถูกส่งมาโดยใคร ซึ่งหากผู้รับต้องการตอบกลับ ก็จะต้องใช้คำสั่ง write เช่นกัน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้พิมพ์ตัวอักษร EOF หรือ กด CTRL+C เพื่อเป็นการ interrupt ทั้งนี้ข้อความที่พิมพ์หลังจาก write จะถูกส่งหลังจากการกด Enter เท่านั้น
ตัวอย่าง write m2kwho am i
คำสั่งใช้เพื่อแสดงว่าผู้ใช้ซึ่ง login เข้าสู่ระบบนั้น (ตัวเราเอง) login ด้วยชื่ออะไร
รูปแบบคำสั่ง/ตัวอย่าง whoami หรือ who am i (บน SUN OS หรือ UNIX บางตัวเท่านั้น)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

file
คำ สั่งfileบนระบบ DOS/Windows นั้น ประเภทของแฟ้มข้อมูลจะถูกระบุด้วยนามสกุล แต่ใน UNIX จะไม่มีนามสกุลเพื่อใช้ระบุประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนั้นการหาประเภทของแฟ้มข้อมูลจะดูจาก Context ภายในของแฟ้ม ซึ่งคำสั่ง file จะทำการอ่าน Content และบอกประเภทของแฟ้มข้อมูลนั้นๆ
รูปแบบคำสั่ง file [option]... file
ตัวอย่าง file /bin/sh
file report1.doc

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

free
แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ
โครงสร้างคำสั่ง free [-b|-k|-m]
โดย option ที่มักใช้กันใน free คือ
-b แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย byte
-k แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย kilobyte
-m แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย megabyte
ตัวอย่าง free
free -b
free -k

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

pwd
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดง Directory ปัจจุบัน (ในทำนองเดียวกับการพิมพ์ cd บน DOS) มาจากคำว่า print work directory
รูปแบบคำสั่ง / ตัวอย่าง pwd

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

uname
คำสั่งแสดง ชื่อและรุ่นของ OS ชื่อและรุ่นของ cpu ชื่อเครื่อง
ตัวอย่าง uname -a

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

hostname
คำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่
ตัวอย่าง hostname

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

tty
แสดงหมายเลข terminal ที่ใช้งานอยู่
ตัวอย่าง tty

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

id
ใช้แสดงชื่อและกลุ่มมของผู้ใช้งาน
ต้วอย่าง id

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs