บอร์ด ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน เครื่องจักร cnc มือสองจากญี่ปุ่น

บอร์ด ซื้อ ขาย เครื่องจักร cnc มือสองจากญี่ปุ่น จากโรงงานโดยตรง => วิธีการใช้เว็บบอร์ด => ข้อความที่เริ่มโดย: admin ที่ ตุลาคม 19, 2014, 04:34:58 AM

หัวข้อ: รูปแบบราคาหุ้น Price pattern เทคนิคคอล
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ ตุลาคม 19, 2014, 04:34:58 AM
 :)
หัวข้อ: Re: ปัจจัยพื้นฐาน ทางเทคนิค รูปแบบราคา
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ ตุลาคม 23, 2014, 11:10:04 PM
 :)
หัวข้อ: แกะรอย คำแนะนำนักวิเคราะห์
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ พฤศจิกายน 04, 2014, 09:53:11 PM
แกะรอย คำแนะนำนักวิเคราะห์
September 19, 2011 at 3:10pm
สำหรับท่านนักลงทุนที่อ่านบทวิเคราะห์บ่อยๆไม่ทราบเคยสังเกตุคำแนะนำของนักวิเคราะห์เวลาจะให้ซื้อให้ขายหรือให้ถือหุ้นบ้างมั๊ยครับ เช่น คำแนะนำซื้อก็มีทั้ง ซื้อ, ทยอยซื้อ, ซื้อเก็งกำไร หรือ หากเป็นค่ายบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศอาจใช้คำว่า Buy, Strong-Buy, Accumulative-Buy, Neutral, Outperform และ Underperform เป็นต้น ท่านผู้อ่านเคยสงสัยมั๊ยครับว่าบทวิเคราะห์หุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ เวลาให้คำแนะนำซื้อ-ขาย ทำไมต้องมีคำเรียกที่แตกต่างกันมากมายขนาดนั้นด้วย วันนี้ผมจึงจะขอชวนท่านผู้อ่านมาแกะรอยคำแนะนำซื้อ-ขายของนักวิเคราะห์กันครับ
คำแนะนำในการลงทุนมีมากก็จริงครับ แต่ก็พอจัดกลุ่มได้ สำหรับหลักทรัพย์บัวหลวงเรามีคำแนะนำ อยู่ 4 ระดับ คือ ซื้อ ซื้อเก็งกำไร ถือ หรือ ขาย แต่ไม่ว่าจะเป็นค่ายหลักทรัพย์ไทย หรือเทศ น่าจะมีความหมายไม่แตกต่างกันมากนัก โดยทั่วไปสามารถสรุปได้ 6 แนวทางดังนี้คือ
หากนักวิเคราะห์ประเมินว่า ราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่วิเคราะห์อยู่มีแนวโน้มกำไรขยายตัวได้ดีเฉลี่ยมากกว่า 15% ต่อปีขึ้นไปในอีก 1-3 ปี มีการจ่ายเงินปันผลระดับหนึ่ง มูลค่าหุ้นประเมินโดยพื้นฐานแล้วสูงกว่าราคาหุ้นในกระดานมากกว่า 20%ขึ้นไป หากเข้าเงื่อนไขเหล่านี้ นักวิเคราะห์จะใส่คำแนะนำ คือ ซื้อ หรือ Buy ครับ
หากนักวิเคราะห์ประเมินหุ้นตามเงื่อนไขเป็นไปตามข้อ 1 แต่เมื่อพิจารณาเงื่อนไขทางด้านแนวโน้มตลาดหุ้นต่อการลงทุนในหุ้นนั้นๆ เพิ่มเติม เรามักจะเห็นการใช้คำแนะนำที่แสดงความหมายที่เข้มข้นมากขึ้น เช่น Strong-Buy หรือ Outperform เพื่อบอกนักลงทุนว่านอกเหนือจากหุ้นน่าสนใจ น่าซื้อเพราะถูกกว่าราคาประเมินจากพื้นฐานมากแล้ว ยังอาจจะมีปัจจัยด้านบวกที่จะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นได้ในเร็วๆนี้ หรือราคาหุ้นนั้นๆน่าจะปรับเพิ่มขึ้นได้เร็วกว่าดัชนีตลาดหุ้น หรือ หุ้นในกลุ่มเดียวกัน
ส่วนคำแนะคำ ทยอยซื้อ หรือ Accumulative-Buy จะมีความหมายว่า ราคาหุ้นถูกมากแล้วเมื่อเทียบกับราคาประเมินจากพื้นฐานบริษัท แต่การฟื้นตัวของรายได้ และกำไรของบริษัทอาจดำเนินไปอย่างช้าๆ หรือ แนวโน้มตลาดหุ้นโดยรวมยังไม่สู้ดีนัก ดังนั้นนักลงทุนควรค่อยๆ ทยอยซื้อหุ้น
คำแนะนำระดับถัดมาคือ ซื้อเก็งกำไร หรือ Speculative Buy หรือ Trading Buy ความหมายคือ นักวิเคราะห์อาจประเมินว่าราคาหุ้นในกระดานไม่แตกต่างจากราคาประเมินโดยพื้นฐานนัก แต่บริษัทอาจมีประเด็นด้านบวกที่จะเข้ามาในช่วง 1-3 เดือนจากนี้ซึ่งจะมีผลทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นได้ แต่นักวิเคราะห์ไม่มั่นใจนักว่าราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นไปจะสามารถยืนได้ กรอบผลตอบแทนจากการลงทุนไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจนขึ้นอยู่กับบรรยากาศการลงทุน ปัจจัยข่าวที่จะเข้ามากระทบต่อมูลค่าพื้นฐานของหุ้นบริษัทนั้น และ นักวิเคราะห์เองยังมีรายละเอียดไม่เพียงพอที่จะระบุชัดเจนได้ว่าราคาพื้นฐานที่จะเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยบวกดังกล่าวนั้นควรเป็นเท่าไร ดังนั้น คำแนะนำจึงออกมาในลักษณะให้หาจังหวะเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไร
คำแนะนำต่อไปคือ ถือ หรือ Neutral ความหมายทั่วไปที่ใช้กันคือ ราคาหุ้นแตกต่างจากราคาพื้นฐานไม่เกิน 10% ประเด็นปัจจัยต่างๆที่เข้ามากระทบต่อบริษัทมีทั้งด้านบวก และ ด้านลบ การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นอาจปรับตัวได้ใกล้เคียงกับดัชนีตลาดหุ้นไทย หรือ คาดว่าให้ผลตอบแทนลงทุนในระดับเดียวกับตลาดหุ้นโดยรวม ดังนั้น นักลงทุนอาจเลือกที่จะถือหุ้นตัวนั้นต่อไป หรือ ขายเพื่อรอซื้อกลับเมื่อราคาหุ้นปรับตัวลง หรือ เปลี่ยนไปลงทุนหุ้นตัวอื่นที่สามารถให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าทั้งที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน หรือ ต่างธุรกิจ
สุดท้ายคือคำแนะนำ ขาย ที่แสดงว่านักวิเคราะห์ได้ประเมินแนวโน้มรายได้  กำไรของบริษัทว่ามีโอกาสปรับตัวลงต่อในอีก 12 เดือนถัดไป ราคาหุ้นยังไม่สะท้อนปัจจัยลบได้ทั้งหมด หรือ อาจมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับโครงสร้างการแข่งขันทางธุรกิจซึ่งจะสร้างผลกระทบระยะยาวต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้นๆ ไม่ใช่ผลกระทบที่เข้ามาเพียงระยะสั้น 3-6 เดือน ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงใน
วัฏจักรธุรกิจ ด้านเทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางกฎหมายที่ขัดต่อธุรกิจ
ฐะนะทางการเงินที่อ่อนแอเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ การโยกย้ายฐานการผลิต เป็นต้น

ถึงตอนนี้หลายท่านคงร้องอ๋อและเลิกแปลกใจเวลาอ่านบทวิเคราะห์แล้วพบว่าผลประกอบการบริษัทก็ออกมาดี ทำไมนักวิเคราะห์ถึงบอกให้ ขาย หรือ กรณีผลประกอบการออกมาแย่ แต่นักวิเคราะห์ถึงแนะนำให้ซื้อ
ทั้งหมดนี้คือคำแนะนำที่นักวิเคราะห์ประจำบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ นิยมใช้เขียนเพื่อแนะนำสำหรับการลงทุน เมื่อเราเข้าใจการทำงานของนักวิเคราะห์ ท่านนักลงทุนก็จะสามารถใช้งานบทวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งก็คงทำให้นักลงทุนมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ถูกต้อง สุดท้ายผมหวังว่านักลงทุนจะสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้นะครับ
หัวข้อ: Re: รูปแบบราคาหุ้น Price pattern เทคนิคคอล
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ พฤศจิกายน 04, 2014, 09:55:32 PM
 :)
หัวข้อ: Re: รูปแบบราคาหุ้น Price pattern เทคนิคคอล
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ สิงหาคม 05, 2015, 06:42:00 PM
รูปแบบราคา
หัวข้อ: Re: รูปแบบราคาหุ้น Price pattern เทคนิคคอล
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ สิงหาคม 24, 2015, 12:59:26 AM
 :)
หัวข้อ: Re: รูปแบบราคาหุ้น Price pattern เทคนิคคอล
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ ตุลาคม 12, 2016, 01:21:10 AM
dow theory
หัวข้อ: Re: รูปแบบราคาหุ้น Price pattern เทคนิคคอล
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ ตุลาคม 12, 2016, 01:46:06 AM
dow
หัวข้อ: Re: รูปแบบราคาหุ้น Price pattern เทคนิคคอล
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ ตุลาคม 17, 2016, 11:50:45 PM
หลักทรัพย์   ล่าสุด   เปลี่ยนแปลง   %เปลี่ยนแปลง   ปริมาณ (ต่อหุ้น)   มูลค่า (พันบาท)
TRC   1.47   0.10   7.30   312,290,377   445,680.12
BANPU   18.50   1.20   6.94   211,879,426   3,791,746.64
JWD   8.75   0.50   6.06   12,883,698   110,730.27
THAI   25.00   1.30   5.49   24,848,960   609,568.33
WORK   35.25   1.75   5.22   6,160,831   213,971.77
หัวข้อ: Re: รูปแบบราคาหุ้น Price pattern เทคนิคคอล
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ ตุลาคม 19, 2016, 10:45:48 AM
elliott wave
หัวข้อ: Re: รูปแบบราคาหุ้น Price pattern เทคนิคคอล
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ กันยายน 30, 2021, 07:55:33 PM
 :)
หัวข้อ: สอนพื้นฐานนักเรียน ฝึกวาดรูปด้วย Python
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ มกราคม 22, 2022, 02:45:46 AM
https://www.youtube.com/watch?v=XzLv4NOZWg4