บอร์ด ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน เครื่องจักร cnc มือสองจากญี่ปุ่น

บอร์ด ซื้อ ขาย เครื่องจักร cnc มือสองจากญี่ปุ่น จากโรงงานโดยตรง => วิธีการใช้เว็บบอร์ด => ข้อความที่เริ่มโดย: admin ที่ มิถุนายน 27, 2012, 04:24:18 PM

หัวข้อ: การตรวจสอบ capacitor ด้วยมัลติมิเตอร์ แบบย่อพอเข้าใจ
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ มิถุนายน 27, 2012, 04:24:18 PM
มาดูรายละเอียดการตรวจสอบ capacitor ด้วยมัลติมิเตอร์ แบบย่อพอเข้าใจ

โดยปรับมัลติมิเตอร์ไปที่ค่าความต้านทาน (R x 1K - R x 100) มากหรือน้อยตามค่าของ capacitor

กล่าวคือ capacitor ค่าน้อยตั้งค่าความต้านทานมาก capacitor ค่ามากตั้งค่าความต้านทานน้อย ตามขั้นตอนดังนี้

1. ถอด capacitor ออกจากวงจร (อาจถอดเพียง 1 ขาก็ได้)
2. ตั้งค่าความต้านทานที่เหมาะสม (ดูข้อมูลในเวปไซด์ที่ลงไว้หลังข้อ 6)
3. นำปลายสายสายมัลติมิเตอร์ไปแตะที่ขั้วทั้ง 2 ของ capacitor หาก capacitor ใช้งานได้ เข็มของมัลติมิเตอร์จะชี้ขึ้นไปทางด้านขวามือ(มาก-น้อยตามค่าของ capacitor)แล้วเข็มจะค่อยๆตกลงถึงค่า 0 ถือว่าคาปาซิเตอร์ยังใช้งานได้
4. หาก capacitor ขาดวัดแล้วเข็มจะไม่กระดิกขึ้นเลยไม่ว่าจะตั้งค่าความต้านทานเท่าใด (ระวัง?.ขณะวัดอย่าให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปแตะขา capacitor )
5. ในกรณีที่นำปลายสายมัลติมิเตอร์ไปแตะขั้ว capacitor ทั้งสองข้างแล้ว เข็มชี้ขึ้นระดับใดระดับหนึ่งไม่เคลื่อนที่เลย แสดงว่า capacitor ตัวนั้นรั่ว
6. ในกรณีที่นำปลายสายมัลติมิเตอร์ไปแตะขั้ว capacitor ทั้งสองข้างแล้ว เข็มชี้ไปด้านขวามือจนสุดและไม่เคลื่อนที่เลย แสดงว่า capacitor ตัวนั้นลัดวงจรภายใน
เพื่อให้ท่านเข้าใจมากยิ่งขึ้น (มีข้อมูล capacitor และคลิปวีดีโอการวัด capacitor ด้วย) ไปดูที่ http://www.mwit.ac.th/~ponchai/webCapacitor/WBTPI_Model/Capacitor/capacitor6.html

หัวข้อ: Re: การตรวจสอบ capacitor ด้วยมัลติมิเตอร์ แบบย่อพอเข้าใจ
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ มิถุนายน 27, 2012, 04:31:14 PM
ถ้าเป็นตัวเก็บประจุค่าต่ำ ๆ ที่จะใช้โอห์มมิเตอร์วัด มักจะวัดการลีก ( รั่ว) หรือชอร์ต ทำได้โดยตั้งย่านโอห์มมิเตอร์สูงสุด Rx10k นำสายวัดของโอห์มมิเตอร์ไปวัดคร่อมตัวเก็บประจุ ถ้าตัวเก็บประจุตัวนั้นดี ขณะนำปลายเข็มวัดแตะกับตัวเก็บประจุครั้งแรก เข็มของโอห์มมิเตอร์ จะกระดิกขึ้นไปทางด้านขวามือเล็กน้อย และเคลื่อนกลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิม
เพื่อความแน่นอนในการตรวจวัด การตรวจวัดตัวเก็บประจุควรจะวัดอย่างน้อยสองครั้ง การตรวจวัดครั้งที่สองโดยการสลับสายวัดกับครั้งแรก จะได้ผลการวัดเหมือนครั้งแรก คือเข็มกระดิกขึ้นเล็กน้อยและเคลื่อนกลับไปอยู่ที่เดิมการตรวจวัดครั้งนี้ถือว่าตัวเก็บประจุตัวนี้ดี
ในการใช้โอห์มมิเตอร์วัดทั้งสองครั้งที่ผ่านมา หากมีครั้งใดครั้งหนึ่งเข็มมิเตอร์ขึ้นแล้วค้าง ไม่เคลื่อนกลับไปอยู่ที่เดิม หรือเคลื่อนกลับแต่ไม่สุดที่เดิมแสดงว่าตัวเก็บประจุตัวนี้ลีก ( รั่ว)
ในการใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดทั้งสองครั้ง เข็มมิเตอร์เคลื่อนไปทางขวามือสุด ( ด้าน 0 ) และค้างอยู่เช่นนั้นสองครั้ง แสดงว่าตัวเก็บประจุตัวนี้ชอร์ต
ตัวเก็บประจุที่มีค่าความจุเกินกว่า 0.001 F ในการวัดด้วยโอห์มมิเตอร์ย่าน Rx10k วัดแล้วเข็มมิเตอร์จะกระดิกขึ้นแล้วตก ความจุของตัวเก็บประจุยิ่งมากขึ้น เข็มมิเตอร์ยิ่งกระดิกสูงขึ้น ( เคลื่อนมาทางขวามือมากขึ้น) และเคลื่อนกลับไปอยู่ที่เดิม ถ้าหากวัดแล้วเข็มมิเตอร์ไม่กระดิกเลย ไม่ว่าสลับสายอย่างไรก็ตาม แสดงว่าตัวเก็บประจุตัวนี้ขาด
หัวข้อ: Re: การตรวจสอบ diode ด้วยมัลติมิเตอร์ แบบย่อพอเข้าใจ
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ มิถุนายน 27, 2012, 05:09:29 PM
 :)