ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าเครื่อง CNC ของเรามีปัญหา

เริ่มโดย admin, กุมภาพันธ์ 10, 2012, 11:39:39 AM

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

admin

ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าเครื่อง CNC ของเรามีปัญหา

ความผิดปกติของเครื่องจักร กับการไม่เอาใจใส่ของผู้ปฎิบัติงานกับเครื่องจักร เป็นสิ่งที่ยากมากที่พนักงานเหล่านี้ จะปริปากบอก เนื่องด้วยสาเหตุที่ว่ากลัวผู้จัดการจะโทษว่าเขาเหล่านั้นทำพังซึ่งอาจจะโดนโทษหนักได้ ผมเองไปซ่อมแต่ละครั้งไม่เคยเจออาการที่หมูๆเลย อย่างว่าล่ะน่ะมันต้องถึงที่สุดก่อนแล้วค่อยเรียกช่าง ผมจะถามก่อนซ่อมเสมอว่า "ก่อนที่มันจะมีปัญหาเนี่ยมันมีอะไรผิดปกติหรือเปล่า" คำตอบที่มักจะได้ยินเสมอก็คือ "ไม่มีหรอกครับ อยู่ๆมันก็วูบไปเอง" หรือไม่ก็ "ไฟตกกระทันหัน พอเปิดเครื่องมาใหม่ก็เกิด Alarm นี้เลย" ฟังดูดีไม่น่าจะมีอะไรมากนัก คำตอบพวกนี้เป็นตอบที่ผมไปซ่อมที่ไหนก็มักจะได้ยินอย่างนี้ทุกที่ น้อยครั้งมากที่จะบอกผมว่า "พี่ครับไอ้นี่ทำชนดังยังกับสิบล้อชนกัน" ถ้าตอบอย่างนี้ผมไม่ต้องเดาเลยว่าผมจะต้องทำอะไรต่อไป ผมอยากจะเขียนบทความอธิบาย เกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่อง CNC โดยท่านสามารถเช็คได้เบื้องต้น ดังต่อไปนี้

ทุกอาการต่อไปนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นเริ่มต้นที่ทิ้งไว้ไม่ได้น๊ะครับ เป็นสัญญาณอันตรายกับเครื่องจักรของท่านน๊ะครับ

1. เสียง

ขึ้นชื่อว่าเสียง มันต้องมีอะไรผิดปกติแน่นอน อาจจะเป็นเสียงหอนขณะที่เลื่อนแกน เสียงลูกปืน Spindle ไม่สามัคคีกัน หรือไม่เสียงเปลี่ยน TOOL ที่ดังเหมือนสิบล้อชนกัน และอีกหลายเสียง ฯลฯ หาให้เจอว่าเสียงมาจากไหน เช่น มาจาก Bearing, Ball Screw, Cover ให้ท่านหยุดการทำงานทันที เสียงเป็นบ่อเกิดแห่งการหายนะ อย่าเอาหูไปนาเอาตาไปไร่เด็ดขาด ถ้าท่านแก้เองได้ให้รีบแก้ซะ ถ้าแก้ไม่ได้ให้เรียกช่างเข้ามาตรวจสอบให้ ก่อนที่อุปกรณ์ทางกลเหล่านั้นจะพังไปมากกว่านี้

2. การสั่น หรือ สะท้านขณะกัดงาน หรือ กลึงงาน

อย่าบอกว่า ไม่เป็นอะไรเด็ดขาด อาการอย่างนี้เป็นสาเหตุของการหลวมอุปกรณ์ทางกล หากท่านละเลยอาจจะทำให้อุปกรณ์ตัวอื่นพังตามไปด้วย ส่วนใหญ่แล้วทางลูกค้าจะแก้อาการนี้ไม่ได้ ต้องเรียกช่างซ่อม

3. ปาดหน้าแล้วมีติ่ง หรือกลึงเป็น Taper หรือเจอะไม่ได้ศูนย์ สำหรับเครื่องกลึง CNC

มีลูกค้ารายนึงบอกผมว่า TOOL ที่ซื้อมาไม่ได้ศูนย์ คุณเชื่อไม๊ ผมไปดู TOOL ที่เขาใช้แต่ละยี่ห้อ SANDVIK, MITSUBISHI, SECO มันจะไม่ได้ซักยี่ห้อเลยหรอ ผมนึกในใจ ขำกลิ้งเลยแกโดนลูกน้องหลอก พอผมถอดป้อมมีดออกมาแล้วแกะ Taper Pin ที่ COUPLING ให้แกดู เยื้องเกือบมิล น๊อตที่ล๊อคขาดเกือบหมดทุกตัว โอ้โฮ นี่มันชนไม่ธรรมดาแล้วนี่ เต็มๆเลย งานนี้ผมตั้งศูนย์เกือบ 1 อาทิตย์ ทั้งป้อมมีด ชุดหัวจับ และชุดยันศูนย์ สงสารเถ้าแก่ โดนไปหลายบาทเหมือนกัน

4. ปาดหน้าเหล็กแล้วเป็น สเตป  สำหรับเครื่อง Machining Center

ถ้าเป็นไม่มากเท่าไหร่ ประมาณ 10 - 30 ไมครอน พอจะตั้งระดับและตั้ง Column ใหม่ให้กลับมาได้ หากมากกว่านี้ งานช้างครับ ต้องยก Column ออกมาแล้วตะไบฐานครับ

5. เครื่อง Alarm แกน OVER LOAD  บ่อยๆ ตระกูล 400 Servo Overload หรือ 414 Servo Alarm(OVC)

ส่วนมากเป็นสาเหตุของระบบแมคคานิคฝืดครับ ทำให้ MOTOR ทำงานหนักมากขึ้นแล้วเครื่องจะALARM  เรียกช่างได้เลยครับ

6. งานกลึงคุมขนาดไม่อยู่

มีสามสาเหตุหลักๆครับ สาเหตุแรก ป้อมมีดล็อคไม่ตรงตำแหน่ง ทำให้ COUPLING ประกบไม่สุด ต้องตั้งศูนย์ใหม่ครับ

สาเหตุที่สอง ค่า REPEATABILITY ไปแล้วกลับไม่ตรงกัน ท่านสามารถใช้ DIAL GAUGE แต๊ะที่ป้อมมีดแล้วเขียนโปรแกรมไปกลับซัก 30 รอบ แล้วดูที่ DIAL INDICATOR หาก Ball Screw หรือ Support Bearing ท่านดี ค่าที่อ่านได้ต้องไม่เกิน 5 - 10 ไมครอนครับ หากมากกว่านี้ ต้องซ่อมแล้วครับ

สาเหตุที่สาม หัวจับชิ้นงาน จับแล้วไม่สามัคคีกัน ให้ลองเช็คดูด้วยมือของท่านเองว่า ฟันมันโยกมากไม๊ และโยกเท่ากันหรือเปล่า ผมเคยเปลี่ยนทั้ง Bearing, Ball Screw มาแล้วน๊ะครับแต่ไม่หาย สุดท้ายเปลี่ยน Chuck แล้วหายจ้อยเลยครับ

7. งานกลึงหรือกัด Radius แล้วเป็นสเตป

ส่วนมากแล้วปัญหานี้เกิดจากค่า BACKLASH ของ BALL SCREW ไม่แมตท์กันครับ ท่านสามารถตั้งใหม่ได้ครับ ส่วนวิธีการท่านเมล์มาถามได้ครับ บทความต่อไปผมจะเขียนเกี่ยวกับเรื่อง BACKLASH และ TAPERED GIBS ครับ

8. Reamer แล้ว รูใหญ่เกินสเปค สำหรับเครื่อง Machining Center

ปกติเราจะใช้ TEST BAR เช็คนะครับ สำหรับช่างซ่อม แต่ถ้าเป็นลูกค้า ให้ถอด TOOL ออก แล้วใช้ PICK DIAL แต๊ะด้านใน TAPER (BT40, 50) แล้วลองหมุนดูจากรอบ ต่ำสุดจนถึงรอบสูงสุดของเครื่อง ค่าที่ดีควรไม่เกิน 10 ไมครอนน๊ะครับ หากมากกว่านี้ ต้องเปลี่ยน Spindle Bearing ครับ

9. ตู้คอนโทรลร้อนมากกว่า 35 องศาหรือมากกว่าอุณหภูมิห้อง

เครื่องลูกค้าบางที่พอเปิดตู้แล้วรู้สึกได้เลยว่าร้อนมาก จริงๆแล้ว องศาภายในตู้ควรจะอยู่ที่ 28 - 30 องศาน๊ะครับ หากมากกว่านี้ควรจะพิจารณาติดพัดลมดูดอากาศเพิ่มครับ และควรตรวจเช็คพัดลมระบายอากาศทุกตัว รวมถึงแผ่นกรองอากาศรอบๆเครื่องด้วยครับ

10. ไฟตก หรือ กด Emergency Stop แล้วแกนตก ทำให้ชิ้นงานเป็นรอย

สาเหตุเกิดจากผ้าเบรค ในระบบเบรคมีช่องว่างเย๊อะเกินไปครับ ท่านต้องถอดผ้าเบรคมาล้างหรือเจียร์ผ้าเบรคให้เสมอกันครับ แล้วตั้งระยะห่างใหม่ครับ ขณะที่ท่านทำการตั้งหรือรื้อ / ประกอบ ให้ท่านหาขอนไม๊หมอนมารองน๊ะครับ เดี๋ยวมันจะหล่นใส่เอา ระวังน๊ะครับ

หลักใหญ่ๆที่ท่านสามารถตรวจเครื่องจักรด้วยตัวท่านเอง ก็มีแค่นี้แหละครับ ถ้าหากมีเพิ่ม ผมจะเขียนลงให้อีกนีครับ หากใครมีข้อมูลที่อยากจะแนะนำ ยินดีรับความคิดเห็นครับ เมล์มาที่ amnaj@inucth.com





PARAMETER นั้นสำคัญอย่างไร

Parameter คืออะไร? หลายคนคงสงสัยว่าทำไมเครื่อง CNC ถึงต้องมี Parameter,  ความสำคัญของParameter ก็คือจะเป็นตัวกำหนดการทำงานของเครื่องจักรทั้งหมด เช่น ค่าคอนโทรล Servo และ Spindle รูปแบบหน้าตา รวมถึงออปชั่นพิเศษอีกหลายตัว Parameter จะแบ่งออกเป็นกลุ่ม ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. NC Parameter และ Pitch Error

Parameter ตัวนี้จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบทั้งหมดของระบบคอนโทรล รวมถึง ค่าควบคุมแกน (SERVO) ค่าควบคุมชุดหัวจับ (Spindle Unit) รวมถึงออปชั่นพิเศษ

2. PC Parameter หรือ DGN

Parameter ตัวนี้จะเป็นตัวกำหนดในส่วนของ PLC ของเครื่องจักร ซึ่งผู้ผลิตเครื่องแต่ละยี่ห้อจะเป็นผู้กำหนดเอง ไม่เกี่ยวกับระบบคอนโทรลครับ

3. Ladder program หรือ PLC ในเครื่อง

การทำงานของ PLC จะเป็นการสร้างเงื่อนไขและควบคุมการทำงานในส่วนของผู้ผลิตเครื่องจักรจะเขียนขึ้นมา เช่น M CODE ต่างๆ รวมถึงระบบ Interlock และออปชั่นพิเศษ เช่น OIL MIST, Spindle Oil Through, Work Counter, High Pressure coolant หาก Ladder ตัวนี้หายหรือ ROM เสียเรื่องใหญ่น๊ะครับ และช่างซ่อมส่วนมากก็ไม่รู้วิธีเก็บด้วยครับ ผมเห็นหลายเครื่องแล้วที่เสีย และพยายามติดต่อกับบริษัทผู้ผลิต บริษัทผู้ผลิตเองบางทีก็ไม่มีข้อมูลตัวนี้แล้ว ทำให้เครื่องจักรของท่านเป็นเศษเหล็กทันที ช่างซ่อมส่วนมากจะเก็บเฉพาะ NC และ PC เท่านั้นครับ แต่จะไม่รู้ว่าเก็บ PLC อย่างไร แล้วถ้าทำไม่ดีอาจจะทำให้มีปัญหาก็ได้น๊ะครับ ผมเจอกับตัวเองมาหลายหนแล้ว

หากว่าอย่างใดอย่างหนึ่งหายไปก็จะทำให้เครื่องจักรของท่านเป็นเศษเหล็กชั่วพริบตา อย่าประมาทน๊ะครับ เก็บมันตอนที่เขากำลังทำงานได้ Parameter Sheet บางที่ไม่ตรงกันก็เยอะน๊ะครับ ทางที่ดีเก็บจากในเครื่องดีกว่า วิธีการเก็บมีหลายวิธีครับ อาจจะเขียนด้วยมือ วิธีนี้อาจจะจดไม่ครบ หรือจดผิด ไม่แนะนำครับ อีกวิธีนึงใช้ LAPTOP ครับ สะดวก ง่าย และรวดเร็วครับ ทางผมเองตอนนี้พยายามไล่เก็บให้ลูกค้าอยู่ครับ เวลาท่านมีปัญหาของผมยังอยู่ครับ หากอะไหล่ไม่เสีย  ภายใน 2 -3 ชั่วโมงเครื่องจักรก็ทำงานต่อไปได้น๊ะครับ อย่าวางใจน๊ะครับ ทำซะก่อนที่มันจะสายเกินไป

เท่าที่ผมรู้มาว่าตอนนี้เครื่องหลายตัวจอดตายเพราะว่า Parameter หาย หรือมีไม่ครบเนื่องมาจากจดผิด หรือ จดเฉพาะ NC Parameter อย่างเดียว บางที่ LADDER ROM เสีย หาไม่ได้ ผมเองพยายามหาทางช่วยอยู่ แต่เท่าที่ดูค่อนข้างยาก เพราะว่าส่วนใหญ่พวกเราจะเป็นช่างซ่อม ไม่ใช่ช่างสร้าง ผมมีเพื่อนอยู่ที่ใต้หวันหลายคนที่เป็นช่างสร้าง CNC และเคยให้มาช่วยงานพวกนี้ แต่เรื่องของราคาก็แพงอยู่พอสมควร ครั้งนึงมาก็เป็นแสน ถึงหลายๆแสน ขึ้นอยู่กับ Option ของเครื่องที่มี พยายามรักษาให้ดีน๊ะครับ หากมีปัญหามา เราสามารถใช้ข้อมูลที่เรามีอยู่ได้ ดีกว่าจะเห็นเครื่องเป็นเศษเหล็กต่อหน้าต่อตา ทำซะก่อนที่จะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับเครื่องจักรของท่าน ดีกว่ามานั่งเสียใจทีหลังกับเงินไม่กี่บาทน๊ะครับ

ช่วงนี้ผมจะออกไปซ่อมเครื่องทุกวัน จะสามารถมาเขียนบทความได้เฉพาะวันเสาร์กับอาทิตย์เท่านั้นน๊ะครับ หากมีเวลามากผมจะลงเรื่องของการวิเคราะห์และสาเหตุเครื่องเชิงลึกให้ครับ หากท่านมีคำถาม สามารถเมล์มาถามได้ตลอดน๊ะครับ หรือ โทรมาก็ได้ครับ ยินดีตอบทุกคำถามที่ผมรู้ครับ

ขอบคุณมากครับ

อำนาจ ขำเพ็ง
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs

    

admin

Battery Replacement Unit



ท่านเคยเจอบ้างไหม อยู่ๆ หน่วยความจำของของเครื่อง CNC หายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ แล้วท่านก็ไม่ได้เก็บข้อมูลของเครื่องจักรไว้เลย เช่น โปรแกรมทำงาน ค่าParamater ค่าOffset มันทำให้เราต้องมานั่งเสียเวลาป้อน Program, Parameter, Set Tool และตั้งเครื่องใหม่ทั้งหมด บางครั้งค่าParameter บางตัวที่ตั้งไว้หรือค่ากำหนดการชดเชยของเครื่องจักรได้หายไป ทำให้เราต้องมาทำการ Calibrate เครื่องจักรใหม่อีก ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร เหตุผลส่วนมากแล้วมักจะมาจาก การไม่ได้ดูแลเอาใจใส่กับ แบตเตอรี่ ที่เลี้ยงข้อมูลของเครื่องจักรเอาไว้ หรือบางท่านอาจจะไม่ทราบเลยว่า เครื่องจักรของท่านมีแบตเตอรี่คอยเลี้ยงหน่วยความจำอยู่ ซึ่งท่านจะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่อย่างน้อยปีล่ะครั้ง ซึ่งหากเปลี่ยนไม่ดีหรือไม่ถูกวิธีก็จะทำให้ข้อมูลที่กล่าวมาข้างบน หายไปด้วย ซึ่งราคาค่าแบตเตอรี่นั้นก็ค่อนข้างแพงมาก แล้วพอเปลี่ยนเสร็จก็มานั่งลุ้นกันอีกว่ามันจะดีหรือเปล่า บางท่านอาจจะเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาบ้างแล้ว

บริษัท ไอนัค จำกัด ได้เห็นความสำคัญของอุปกรณ์ตัวนี้และได้ นำเข้าจากอเมริกา ซึ่งใช้แพร่หลายมาก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แทน ลิเที่ยม แบตเตอรี่ได้

โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่อีกต่อไปตลอดอายุการใช้งาน เป็นแผงวงจรอิเลคโทรนิคส์ที่ติดไว้ในเครื่องจักรได้เลย ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าตามที่เราต้องการ

ปรับแรงดันเป็น 3.0 VDC
ซึ่งใช้กับ Fanuc-16/18/15B/20/21 หรือ รุ่น Fanuc I Series

ปรับแรงดันเป็น 3.6 VDC
ซึ่งใช้กับ Mitsubishi ( Meldas Control ), Fanuc Alpha Drive

ปรับแรงดันเป็น 4.5 & 6 VDC
ซึ่งใช้กับ Fanuc-0/3/10/15A และ Absolute Encoder

สามารถใช้ได้กับ Fanuc Robot, MotorMan และ Robot ทุกยี่ห้อ




ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่อีกต่อไปแล้ว สินค้ารับประกัน 3 ปี
ช่วงโปรโมชั่น

รุ่น 180mAH ชิ้นล่ะ      10,000 บาท

รุ่น 360 mAH ชิ้นล่ะ     12,500 บาท


พร้อมราคาติดตั้ง พร้อมทำ BackUp ข้อมูลเครื่องจักรให้ด้วย
เช่น NC,PC PARAMETER และ LADDER PROGRAM

หากท่านสนใจติดต่อได้ที่
แผนกขาย 081-351-8301-3
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs