แจกโปรแกรม NC link ดาวโหลดได้เลย

เริ่มโดย admin, กุมภาพันธ์ 16, 2011, 10:25:55 AM

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

admin

บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs

    

admin

Control fanuc OM , 6T , 6M และรุ่นอื่น ทั้งหลาย
ต่อสายเชื่อม RS-232 เปิดโปรแกรม รอรับข้อมูล

เครื่อง CNC เลือกโหมด MDI
กดเรียก parameter
ป้อน P99999 กด punch หรือ ส่งออก
มีอยู่ ในคู่มือ Operation Manual ของ Fanuc ทุกรุ่น

(แต่ว่า ตอนนี้ไม่ได้เปิด อาจบอกผิดเล็กน้อย)
สายเอาจาก บทความผมก็ได้ อาจต้องแก้ไขนิดหน่อย
วันหลัง จะ update บทความนี้ เรื่องสายให้ใหม่


Fanuc OT
ไปเห็นของรุ่น Oi ว่า

ใช้ edit หรือ กด emergency stop
แล้วเรียกหา หน้า parameter
สั่ง punch ออก
เมื่อคำว่า output หยุดกระพริบ ให้กด reset
เป็นอัน เสร็จพิธี

(รุ่นอื่น ยังไม่เจอ เล่มคู่มือ)

เมื่อคืนนี้ คีย์มันไปหน่อย ไม่ได้ตรวจ

โหมดอาจจะเป็น Edit หรือ MDI อย่างใดอย่างหนึ่ง ลองดู
เลือกหน้า parameter ขึ้นมา
แล้ว กด punch
หรือ พิมพ์ P9999 แล้วกด punch หรือ enter ประมาณนี้

คอนโทรล รุ่นใหม่ จะมี ให้เลือก ส่งข้อมูลออก ซึ่งลำดับขั้นตอนอาจต่างออกไปเล็กน้อย
แต่เหมือนกันกับ การรับ-ส่ง ไฟล์ ข้อมูล NC-program นั่นแหละ
เพียงแต่ เปลี่ยนจาก Oxxxx เป็น P9999 แทน
<br

ขอโทษทีไม่มีเวลา หาคู่มือในกองหนังสือ มาเปิดดู
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs

    

admin

ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าเครื่อง CNC ของเรามีปัญหา

ความผิดปกติของเครื่องจักร กับการไม่เอาใจใส่ของผู้ปฎิบัติงานกับเครื่องจักร เป็นสิ่งที่ยากมากที่พนักงานเหล่านี้ จะปริปากบอก เนื่องด้วยสาเหตุที่ว่ากลัวผู้จัดการจะโทษว่าเขาเหล่านั้นทำพังซึ่งอาจจะโดนโทษหนักได้ ผมเองไปซ่อมแต่ละครั้งไม่เคยเจออาการที่หมูๆเลย อย่างว่าล่ะน่ะมันต้องถึงที่สุดก่อนแล้วค่อยเรียกช่าง ผมจะถามก่อนซ่อมเสมอว่า "ก่อนที่มันจะมีปัญหาเนี่ยมันมีอะไรผิดปกติหรือเปล่า" คำตอบที่มักจะได้ยินเสมอก็คือ "ไม่มีหรอกครับ อยู่ๆมันก็วูบไปเอง" หรือไม่ก็ "ไฟตกกระทันหัน พอเปิดเครื่องมาใหม่ก็เกิด Alarm นี้เลย" ฟังดูดีไม่น่าจะมีอะไรมากนัก คำตอบพวกนี้เป็นตอบที่ผมไปซ่อมที่ไหนก็มักจะได้ยินอย่างนี้ทุกที่ น้อยครั้งมากที่จะบอกผมว่า "พี่ครับไอ้นี่ทำชนดังยังกับสิบล้อชนกัน" ถ้าตอบอย่างนี้ผมไม่ต้องเดาเลยว่าผมจะต้องทำอะไรต่อไป ผมอยากจะเขียนบทความอธิบาย เกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่อง CNC โดยท่านสามารถเช็คได้เบื้องต้น ดังต่อไปนี้

ทุกอาการต่อไปนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นเริ่มต้นที่ทิ้งไว้ไม่ได้น๊ะครับ เป็นสัญญาณอันตรายกับเครื่องจักรของท่านน๊ะครับ

1. เสียง

ขึ้นชื่อว่าเสียง มันต้องมีอะไรผิดปกติแน่นอน อาจจะเป็นเสียงหอนขณะที่เลื่อนแกน เสียงลูกปืน Spindle ไม่สามัคคีกัน หรือไม่เสียงเปลี่ยน TOOL ที่ดังเหมือนสิบล้อชนกัน และอีกหลายเสียง ฯลฯ หาให้เจอว่าเสียงมาจากไหน เช่น มาจาก Bearing, Ball Screw, Cover ให้ท่านหยุดการทำงานทันที เสียงเป็นบ่อเกิดแห่งการหายนะ อย่าเอาหูไปนาเอาตาไปไร่เด็ดขาด ถ้าท่านแก้เองได้ให้รีบแก้ซะ ถ้าแก้ไม่ได้ให้เรียกช่างเข้ามาตรวจสอบให้ ก่อนที่อุปกรณ์ทางกลเหล่านั้นจะพังไปมากกว่านี้

2. การสั่น หรือ สะท้านขณะกัดงาน หรือ กลึงงาน

อย่าบอกว่า ไม่เป็นอะไรเด็ดขาด อาการอย่างนี้เป็นสาเหตุของการหลวมอุปกรณ์ทางกล หากท่านละเลยอาจจะทำให้อุปกรณ์ตัวอื่นพังตามไปด้วย ส่วนใหญ่แล้วทางลูกค้าจะแก้อาการนี้ไม่ได้ ต้องเรียกช่างซ่อม

3. ปาดหน้าแล้วมีติ่ง หรือกลึงเป็น Taper หรือเจอะไม่ได้ศูนย์ สำหรับเครื่องกลึง CNC

มีลูกค้ารายนึงบอกผมว่า TOOL ที่ซื้อมาไม่ได้ศูนย์ คุณเชื่อไม๊ ผมไปดู TOOL ที่เขาใช้แต่ละยี่ห้อ SANDVIK, MITSUBISHI, SECO มันจะไม่ได้ซักยี่ห้อเลยหรอ ผมนึกในใจ ขำกลิ้งเลยแกโดนลูกน้องหลอก พอผมถอดป้อมมีดออกมาแล้วแกะ Taper Pin ที่ COUPLING ให้แกดู เยื้องเกือบมิล น๊อตที่ล๊อคขาดเกือบหมดทุกตัว โอ้โฮ นี่มันชนไม่ธรรมดาแล้วนี่ เต็มๆเลย งานนี้ผมตั้งศูนย์เกือบ 1 อาทิตย์ ทั้งป้อมมีด ชุดหัวจับ และชุดยันศูนย์ สงสารเถ้าแก่ โดนไปหลายบาทเหมือนกัน

4. ปาดหน้าเหล็กแล้วเป็น สเตป  สำหรับเครื่อง Machining Center

ถ้าเป็นไม่มากเท่าไหร่ ประมาณ 10 - 30 ไมครอน พอจะตั้งระดับและตั้ง Column ใหม่ให้กลับมาได้ หากมากกว่านี้ งานช้างครับ ต้องยก Column ออกมาแล้วตะไบฐานครับ

5. เครื่อง Alarm แกน OVER LOAD  บ่อยๆ ตระกูล 400 Servo Overload หรือ 414 Servo Alarm(OVC)

ส่วนมากเป็นสาเหตุของระบบแมคคานิคฝืดครับ ทำให้ MOTOR ทำงานหนักมากขึ้นแล้วเครื่องจะALARM  เรียกช่างได้เลยครับ

6. งานกลึงคุมขนาดไม่อยู่

มีสามสาเหตุหลักๆครับ สาเหตุแรก ป้อมมีดล็อคไม่ตรงตำแหน่ง ทำให้ COUPLING ประกบไม่สุด ต้องตั้งศูนย์ใหม่ครับ

สาเหตุที่สอง ค่า REPEATABILITY ไปแล้วกลับไม่ตรงกัน ท่านสามารถใช้ DIAL GAUGE แต๊ะที่ป้อมมีดแล้วเขียนโปรแกรมไปกลับซัก 30 รอบ แล้วดูที่ DIAL INDICATOR หาก Ball Screw หรือ Support Bearing ท่านดี ค่าที่อ่านได้ต้องไม่เกิน 5 - 10 ไมครอนครับ หากมากกว่านี้ ต้องซ่อมแล้วครับ

สาเหตุที่สาม หัวจับชิ้นงาน จับแล้วไม่สามัคคีกัน ให้ลองเช็คดูด้วยมือของท่านเองว่า ฟันมันโยกมากไม๊ และโยกเท่ากันหรือเปล่า ผมเคยเปลี่ยนทั้ง Bearing, Ball Screw มาแล้วน๊ะครับแต่ไม่หาย สุดท้ายเปลี่ยน Chuck แล้วหายจ้อยเลยครับ

7. งานกลึงหรือกัด Radius แล้วเป็นสเตป

ส่วนมากแล้วปัญหานี้เกิดจากค่า BACKLASH ของ BALL SCREW ไม่แมตท์กันครับ ท่านสามารถตั้งใหม่ได้ครับ ส่วนวิธีการท่านเมล์มาถามได้ครับ บทความต่อไปผมจะเขียนเกี่ยวกับเรื่อง BACKLASH และ TAPERED GIBS ครับ

8. Reamer แล้ว รูใหญ่เกินสเปค สำหรับเครื่อง Machining Center

ปกติเราจะใช้ TEST BAR เช็คนะครับ สำหรับช่างซ่อม แต่ถ้าเป็นลูกค้า ให้ถอด TOOL ออก แล้วใช้ PICK DIAL แต๊ะด้านใน TAPER (BT40, 50) แล้วลองหมุนดูจากรอบ ต่ำสุดจนถึงรอบสูงสุดของเครื่อง ค่าที่ดีควรไม่เกิน 10 ไมครอนน๊ะครับ หากมากกว่านี้ ต้องเปลี่ยน Spindle Bearing ครับ

9. ตู้คอนโทรลร้อนมากกว่า 35 องศาหรือมากกว่าอุณหภูมิห้อง

เครื่องลูกค้าบางที่พอเปิดตู้แล้วรู้สึกได้เลยว่าร้อนมาก จริงๆแล้ว องศาภายในตู้ควรจะอยู่ที่ 28 - 30 องศาน๊ะครับ หากมากกว่านี้ควรจะพิจารณาติดพัดลมดูดอากาศเพิ่มครับ และควรตรวจเช็คพัดลมระบายอากาศทุกตัว รวมถึงแผ่นกรองอากาศรอบๆเครื่องด้วยครับ

10. ไฟตก หรือ กด Emergency Stop แล้วแกนตก ทำให้ชิ้นงานเป็นรอย

สาเหตุเกิดจากผ้าเบรค ในระบบเบรคมีช่องว่างเย๊อะเกินไปครับ ท่านต้องถอดผ้าเบรคมาล้างหรือเจียร์ผ้าเบรคให้เสมอกันครับ แล้วตั้งระยะห่างใหม่ครับ ขณะที่ท่านทำการตั้งหรือรื้อ / ประกอบ ให้ท่านหาขอนไม๊หมอนมารองน๊ะครับ เดี๋ยวมันจะหล่นใส่เอา ระวังน๊ะครับ

หลักใหญ่ๆที่ท่านสามารถตรวจเครื่องจักรด้วยตัวท่านเอง ก็มีแค่นี้แหละครับ ถ้าหากมีเพิ่ม ผมจะเขียนลงให้อีกนีครับ หากใครมีข้อมูลที่อยากจะแนะนำ ยินดีรับความคิดเห็นครับ เมล์มาที่ amnaj@inucth.com





PARAMETER นั้นสำคัญอย่างไร

Parameter คืออะไร? หลายคนคงสงสัยว่าทำไมเครื่อง CNC ถึงต้องมี Parameter,  ความสำคัญของParameter ก็คือจะเป็นตัวกำหนดการทำงานของเครื่องจักรทั้งหมด เช่น ค่าคอนโทรล Servo และ Spindle รูปแบบหน้าตา รวมถึงออปชั่นพิเศษอีกหลายตัว Parameter จะแบ่งออกเป็นกลุ่ม ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. NC Parameter และ Pitch Error

Parameter ตัวนี้จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบทั้งหมดของระบบคอนโทรล รวมถึง ค่าควบคุมแกน (SERVO) ค่าควบคุมชุดหัวจับ (Spindle Unit) รวมถึงออปชั่นพิเศษ

2. PC Parameter หรือ DGN

Parameter ตัวนี้จะเป็นตัวกำหนดในส่วนของ PLC ของเครื่องจักร ซึ่งผู้ผลิตเครื่องแต่ละยี่ห้อจะเป็นผู้กำหนดเอง ไม่เกี่ยวกับระบบคอนโทรลครับ

3. Ladder program หรือ PLC ในเครื่อง

การทำงานของ PLC จะเป็นการสร้างเงื่อนไขและควบคุมการทำงานในส่วนของผู้ผลิตเครื่องจักรจะเขียนขึ้นมา เช่น M CODE ต่างๆ รวมถึงระบบ Interlock และออปชั่นพิเศษ เช่น OIL MIST, Spindle Oil Through, Work Counter, High Pressure coolant หาก Ladder ตัวนี้หายหรือ ROM เสียเรื่องใหญ่น๊ะครับ และช่างซ่อมส่วนมากก็ไม่รู้วิธีเก็บด้วยครับ ผมเห็นหลายเครื่องแล้วที่เสีย และพยายามติดต่อกับบริษัทผู้ผลิต บริษัทผู้ผลิตเองบางทีก็ไม่มีข้อมูลตัวนี้แล้ว ทำให้เครื่องจักรของท่านเป็นเศษเหล็กทันที ช่างซ่อมส่วนมากจะเก็บเฉพาะ NC และ PC เท่านั้นครับ แต่จะไม่รู้ว่าเก็บ PLC อย่างไร แล้วถ้าทำไม่ดีอาจจะทำให้มีปัญหาก็ได้น๊ะครับ ผมเจอกับตัวเองมาหลายหนแล้ว

หากว่าอย่างใดอย่างหนึ่งหายไปก็จะทำให้เครื่องจักรของท่านเป็นเศษเหล็กชั่วพริบตา อย่าประมาทน๊ะครับ เก็บมันตอนที่เขากำลังทำงานได้ Parameter Sheet บางที่ไม่ตรงกันก็เยอะน๊ะครับ ทางที่ดีเก็บจากในเครื่องดีกว่า วิธีการเก็บมีหลายวิธีครับ อาจจะเขียนด้วยมือ วิธีนี้อาจจะจดไม่ครบ หรือจดผิด ไม่แนะนำครับ อีกวิธีนึงใช้ LAPTOP ครับ สะดวก ง่าย และรวดเร็วครับ ทางผมเองตอนนี้พยายามไล่เก็บให้ลูกค้าอยู่ครับ เวลาท่านมีปัญหาของผมยังอยู่ครับ หากอะไหล่ไม่เสีย  ภายใน 2 -3 ชั่วโมงเครื่องจักรก็ทำงานต่อไปได้น๊ะครับ อย่าวางใจน๊ะครับ ทำซะก่อนที่มันจะสายเกินไป

เท่าที่ผมรู้มาว่าตอนนี้เครื่องหลายตัวจอดตายเพราะว่า Parameter หาย หรือมีไม่ครบเนื่องมาจากจดผิด หรือ จดเฉพาะ NC Parameter อย่างเดียว บางที่ LADDER ROM เสีย หาไม่ได้ ผมเองพยายามหาทางช่วยอยู่ แต่เท่าที่ดูค่อนข้างยาก เพราะว่าส่วนใหญ่พวกเราจะเป็นช่างซ่อม ไม่ใช่ช่างสร้าง ผมมีเพื่อนอยู่ที่ใต้หวันหลายคนที่เป็นช่างสร้าง CNC และเคยให้มาช่วยงานพวกนี้ แต่เรื่องของราคาก็แพงอยู่พอสมควร ครั้งนึงมาก็เป็นแสน ถึงหลายๆแสน ขึ้นอยู่กับ Option ของเครื่องที่มี พยายามรักษาให้ดีน๊ะครับ หากมีปัญหามา เราสามารถใช้ข้อมูลที่เรามีอยู่ได้ ดีกว่าจะเห็นเครื่องเป็นเศษเหล็กต่อหน้าต่อตา ทำซะก่อนที่จะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับเครื่องจักรของท่าน ดีกว่ามานั่งเสียใจทีหลังกับเงินไม่กี่บาทน๊ะครับ

ช่วงนี้ผมจะออกไปซ่อมเครื่องทุกวัน จะสามารถมาเขียนบทความได้เฉพาะวันเสาร์กับอาทิตย์เท่านั้นน๊ะครับ หากมีเวลามากผมจะลงเรื่องของการวิเคราะห์และสาเหตุเครื่องเชิงลึกให้ครับ หากท่านมีคำถาม สามารถเมล์มาถามได้ตลอดน๊ะครับ หรือ โทรมาก็ได้ครับ ยินดีตอบทุกคำถามที่ผมรู้ครับ

ขอบคุณมากครับ

อำนาจ ขำเพ็ง
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs

    

admin

PREVENTIVE MAINTENANCE

ความเข้าใจการทำ PM กับเครื่องจักรของบ้านเรานั้น ยังมีประสบการณ์ค่อนข้างน้อยมาก บางบริษัทไม่เคยมีความคิดที่จะทำเลย บางที่มีความคิดวางแผนทำแล้วแต่ไม่สามารถหยุดเครื่องจักรได้ ทำให้เครื่องจักรขาดการดูแล และเกิดปัญหาใหญ่ตามมา บางครั้งต้องยอมรับว่า "ถ้าไม่พังก็ไม่หยุด เครื่องจักรของบริษัท ไม่ใช่ของผม หยุดก็ช่างมัน " ผมเองทำงานในวงการซ่อมเครื่องจักรมา กว่า 15 ปี ผมจะบอกลูกค้าเสมอว่า เครื่องจักรราคาเป็นล้านหากมันพังไปหรือหยุดการผลิตไปซัก 2-3 วันหรือ 1-2 อาทิตย์ในวันทำงานปกติ มันคุ้มกันใหม ทางบริษัทเองก็ขายงานไม่ได้ ลูกค้าก็จะปรับหรือตัดงานท่าเดียวไม่สนใจอะไรทั้งนั้น ทางคุณเองก็อยู่ฝ่ายซ่อมบำรุงหรือฝ่ายผลิตก็เดือดร้อนเหมือนกัน ต้องตามคนซ่อมว่าทำไปถึงไหนแล้ว อะไหล่มารึยัง วันนี้ได้ไม๊ พรุ่งนี้ได้ไม๊ มันเป็นเหตุการที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่จบสักที ผมเองพยามแนะนำว่าเราควรจะมีการตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องจักรทุกเดือน เดือนละ 2-3 ชม. เอง ทำตารางการตรวจสอบขึ้นมา อย่างเช่น Spindle (ชุดจับชิ้นงานหรือทูล), Axis (ชุดขับเครื่องแกน) , ระบบน้ำมันหล่อลื่น, ระบบน้ำมันไฮโดรลิค ฯลฯ ให้เช็คว่ามันมีความผิดปกติอะไรหรือเปล่า ยกตัวอย่างเช่น ชุด Spindle มีเสียงดังเกิดขึ้น หรือกลึงงานแล้วออกมาเป็นทรงไข่ไม่กลม เครื่องจักรยังสามารถทำงานได้แต่มันเป็นลางบอกเหตุว่ามันกำลังจะพังในอีกไม่ช้า เราสามารถเตรียมการซ่อมเอาไว้ล่วงหน้าได้ เราอาจจะสั่งชุดลูกปืนหรือ Spindle ชุดใหม่เตรียมไว้ หากมันคุมไม่อยู่เมื่อไหร่เราสามารถเปลี่ยนได้ภายใน 1 วัน นี่คือการวางแผนทำ PM หากเราไม่สนใจมัน วันใดวันหนึ่งมันทำงานไม่ได้หรือ โอเวอร์สเปคขึ้นมา เครื่องเราก็จอดเป็นผลให้คุณๆต้องเดือดร้อนอย่างน้อยก็ 2-3วันกว่าจะรู้เรื่องว่าจะต้องทำอย่างไรหรือบางครั้งต้องรอกันเป็นเดือนๆก็มี ล่าสุดผมไปซ่อมเครื่องให้ลูกค้ารายหนึ่งซึ่งเพิ่งจะซื้อเครื่องจักรได้ประมาณ 2 ปี เชื่อใหม ข้างในนี้สนิมเต็มเลย มันเข้าไปกัดเหล็ก ทั้งหัวจับ ลูกปืน Spindle ฯลฯ นั่งขัดและปรับแต่งกัน 3-4 วัน กว่าจะจบผมบอกลูกค้าว่า คุณควรจะเปิด COVER ดูทุกๆ 3 เดือนอย่างน้อยคุณจะได้เห็นว่ามันเกิดอะไรขึ้น ไม่ใช่ว่ารอให้มันพังแล้วซ่อม เขาบอกว่าสาเหตุมาจากน้ำยาCoolant มันเน่าบ่อยเนื่องจากเครื่องจักรปล่อยน้ำมันหล่อลื่นออกมาเยอะทำให้เน่าเร็ว ผมเองเลยแนะนำไปว่างั้นให้เปลี่ยนเป็นยี่ห้อที่ไม่เน่าซิผมเองไม่อยากไปแก้ พารามิเตอร์ของเครื่องหรอก เขาตั้งมาให้พอดีแล้ว นี่แหละผลของการไม่ทำ PM ทำซะก่อนที่มันจะเป็นเรื่องใหญ่โต  ขอทราบข้อมูลได้ที่ 081-351-8301-3

หลายๆท่านได้โทรมาสอบถามว่า ไอ้ที่ว่าทำ PM เนี่ยทำอะไรบ้างให้ผมเขียนเพิ่มให้ด้วยเพื่อที่จะได้เข้าใจมากขึ้น แล้วทำไมทำ PM ต้องทำอย่างน้อย 2 วันขึ้นไป ผมจะเขียนเป็นข้อๆไปล่ะกันว่าทำอะไรบ้าง

1. SPINDLE UNIT (ชุดขับหัวจับชิ้นงาน เครื่องกลึง CNC หรือ หัวจับทูลสำหรับเครื่อง Machining Center)

ถ้าจะดูจากสายตาแล้วพูดว่า ไอ้โน่นเสีย ไอ้นี่เสีย แล้วตีราคาซ่อมมาเนี่ย บอกได้เลยครับช่างคนนั้นน่ะมั่ว 100 เปอร์เซ็นต์เลย ต้องใช้อะไรบ้างในการตรวจเช็ค และจะเช็คยังไงว่ามันเสีย อย่างแรกเลยฟังเสียงก่อนเลยเวลาหมุน หากมีเสียงผิดปกติแสดงว่า ตลับลูกปืนด้านในมีปัญหาแน่นอน และถ้าอยากรู้ว่ามันจะใช้ได้นานอีกเท่าไหร่ ก็ต้องถอดหัวจับออกมา แล้วเอาไดแอล เกจน์ จับดูที่หัวที่เป็น Tapper แล้วสั่งให้หัว Spindle หมุนจากรอบต่ำสุดไปจนถึงสูงสุดแล้วดูซิว่า มันไปเท่าไหร่ หากเกิน 20 ไมครอนให้สั่งอะไหล่ไว้รอเลยครับ โอกาศที่มันจะหลวมขึ้นไปเรื่อยมีสูงมาก หากต่ำกว่า 20 ไมครอนก็ยังใช้ได้อีกนานครับ แต่อย่าประมาทน๊ะครับ มันจะทำให้อะไหล่ตัวที่เกี่ยวข้องเสียไปด้วย

ส่วนสำหรับเครื่อง MACHINING CENTER ก็ทำเหมือนกันครับ ให้ถอด TOOL ออกมาแล้วเช็คดูที่ TAPPER หากไม่มีรอยก็ให้ใช้ ไดแอล เกจน์ แต๊ะ เหมือนกันแล้วหมุนดู เหมือนอย่างข้างบนเป๊ะ

2. เช็คแกน X, Y และ Z

ท่านสามารถตรวจสอบค่า Backlash ของเครื่องด้วยตัวท่านเองน๊ะครับ อย่างแรกเลยทำทีล่ะแกน ยกตัวอย่างแกน X น๊ะครับให้

ท่านต้องเข้าไปเคลียร์ค่า Backlash Parameter ของแกน X ให้เป็น 0 เสร็จแล้วให้ท่านทำ ZRN แล้วท่านก็กะระยะระหว่าง Dial Gauge และจุด ZRN ให้ห่างประมาณซัก 100 มิลลิเมตรก็พอเสร็จแล้วให้ท่านเลื่อนแกน X ที่ Handle x100 มาในทิศทางลบใกล้ๆจะถึงประมาณซัก 5 มิลลิเมตรท่านก็เลือก Handle x10 แล้วค่อยๆหมุนลงมาให้แต๊ะกับ Dial Gauge อย่าหมุนแกนขึ้นน๊ะครับ ให้หมุนไปในทางทิศเดียวกันแล้วท่านก็ Set ที่ Dial Gauge ให้เป็น 0 แล้วไปเคลียร์ค่า Reletive ในแนว U และ W ให้เป็น 0 ด้วยน๊ะครับ เสร็จแล้ว ให้ถอยหลังแกนแล้วถอยแกน Z ให้พ้น Dial Gauge แล้วให้ท่านเลื่อนแกน X ลงมา -50 มิลลิเมตร ที่ Handle x100 เสร็จแล้วให้ท่านเลื่อนแกน X ที่ Handle x10 ไปที่ตำแหน่ง U0 น๊ะครับ หากท่านเลื่อนเลยไป ท่านก็ต้องเลื่อนกลับมาตั้งหลักที่ -50 ใหม่แล้วเลื่อนอย่าให้เลย U0 น่ะครับ เสร็จแล้วให้ท่านเลื่อนแกน Z ไปตำแหน่ง W0 มาถึงตอนนี้ท่านก็จะทราบค่า Backlash แล้วครับว่าไปเท่าไหร่โดยดูได้จาก Scale ของ Dial Gauge น๊ะครับ แล้วให้ท่านนำค่านี้ไปใส่ใน Parameter ของ Backlash เครื่องก็จะชดเชยค่าให้อัตโนมัติน๊ะครับ

กรณีท่านต้องการเขียน Program ตรวจสอบก็ทำได้ครับ ตามด้านล่างเลยครับ

Program นี้สำหรับแกน X น๊ะครับ ส่วนแกน Z นั้นก็ทำเหมือนกันแต่ที่ Program ให้เปลี่ยนเป็น W น๊ะครับ

Lathe
G98G01U0.010 F10.0 (ตำแหน่งที่แต๊ะ Dial Gauge = set 0)

G4 X2.0
U-0.010(จดค่าที่อ่านได้)

M00
U-0.010

G4 X2.0
U0.010 (จดค่าที่อ่านได้)

M00
M99


ส่วนแกนอื่นๆก็ทำเหมือนกันครับ

Backlash Parameters

Fanuc

0 control X=535,Y=536, Z=537, 4th=538
3 control X=53, Y/Z=54, Z=55
6 control X=115, Y/Z=116, Z/3rd=117, 4th=118
10,11,12,15,16,18, 21,16I,18I,21I XYZ=1851

Mitsubishi -2012

YASNAC
MX3 X=6400, Y=6401, Z=6402
LX3 X=6282, Y/Z=6283, Z=6284

หลังจากท่านตั้งค่า Backlash เสร็จแล้ว อีกตัวนึงที่สำคัญไม่แพ้กันคือค่า Repeatability หรือ ค่าที่ไปกลับต้องอยู่ในระยะที่เรากำหนด ส่วนใหญ่แล้วไม่เกิน 5 ไมครอนนะครับ

ท่านสามารถเขียน Program Test ได้ดังต่อไปนี้ครับ

G98G00U-10.0

G01U-2.0 F10.0  (ตำแหน่งที่แตะ DIAL GAUGE = set 0)

G4X5.0 (จดค่าไว้ทุกครั้งประมาณ 30 รอบ)

G00 U12.0

G99

M99

Program นี้สำหรับแกน X น๊ะครับ ส่วนแกน Z นั้นก็ทำเหมือนกันแต่ที่ Program ให้เปลี่ยนเป็น W น๊ะครับ

หากค่ามัน +/- ไม่เกิน 0.01 น่าจะเป็นค่าที่รับได้น๊ะครับ หากมากกว่านี้คงต้องซ่อมแล้วครับ อาจจะต้องเปลี่ยน Support Bearing หรือ Ball Screw ใหม่น๊ะครับ

Gridshifts and overtravel parameters- CNC/fanuc Parameter list Grid Shift

Gridshift parameters list

   
0 control

508,509,510,511

3 control

31,32,33

5T control

X=24,25,26,27, Z=34,35,36,37=Bits 3210(=.1,1,.001,.01mm)

6 control

82,83,84,85

10,11,12,15,16,18, 21,16I,18I,21I

Control = 1850

   
Soft over travel Limits

Fanuc


0 control

X= 700+704, Y=701+705, Z=702+706, 4th=703+707

3 control

70,71,72, and 73,74,75

6 control

143,144,145,146, and 147,148,149,150

10,11,12,15,16,18, 21,16I,18I,21I

1320, 1321

   
Mitsubishi

Over-travel par.2013 is -, 2014 is +, Soft over-travels is 8204 and 8205




วันนี้พอก่อนน๊ะครับ ง่วงนอนแล้ว เดี๋ยวพรุ่งนี้จะมาต่อให้



การเลือกซื้อเครื่อง CNC มือสอง ดูอย่างไรไม่ให้ถูกหลอก

เครื่อง CNC มือสอง เป็นเครื่องที่เราไม่เคยรู้ประวัติของเครื่องเลย เป็นเรื่องที่ยากมากที่จะดู จากประสบการณ์ซ่อมเครื่องของตัวผมเอง สามารถแยกแยะได้ออกเป็นหลายๆประเภทดังต่อไปนี้

1. สิ่งแรกที่เราจะต้องดูก็คือ ยี่ห้อ

ยี่ห้อ จะเป็นตัวกำหนดว่าเราจะควรซื้อมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะเครื่อง ญี่ปุ่น เช่น เครื่องยี่ห้อ MORI SEIKI เป็นเครื่องที่ดียี่ห้อหนึ่งเพราะว่า ส่วนมากใช้คอนโทรลของ Fanuc และอะไหล่หาง่ายทั่วไป เช่น แผงควบคุมระบบต่างๆ และ อะไหล่งานกลเช่น ตลับลูกปืนแกน ตลับลูกปืน Spindle และ Ball Screw สามารถหาซื้อได้ในบ้านเรา และที่สำคัญช่างส่วนใหญ่ซ่อมได้,

ยี่ห้อ OKUMA ดีพอฟัดพอเหวี่ยงกับ MORI SEIKI แต่มีข้อจำกัดของระบบคอนโทรล แผงวงจรควบคุมการทำงานหาค่อนข้างยาก ส่วนเรื่องอะไหล่ทางกลไม่ค่อยเท่าไหร่ พอๆกับ MORI SEIKI ปัญหาเรื่องช่าง หากมีปัญหาเกี่ยวกับคอนโทรล เช่น System Alarm ต้องตามช่างที่ซ่อม OKUMA อย่างเดียว การเก็บข้อมูลยังเป็นระบบใช้ ดิสเก็ตส์อยู่ หากดิสหายเรื่องใหญ่เลย อะไหล่เมื่อเทียบกับ Fanuc ยังเทียบกันไม่ได้เลย แต่ถ้าแฟนพันธ์แท้ มีเจ้าประจำซ่อมอยู่ก็น่าใช้,

ยี่ห้อ MAZAK เป็นเครื่องที่อัจฉริยะตัวนึงเลย ความสามารถของการเขียน Program ส่วนมากเป็นแบบถาม-ตอบ แบบ G CODE ก็มีแต่มีน้อย ข้อจำกัดของเครื่องยี่ห้อนี้คือระบบคอนโทรลซึ่งเป็นของ MITSUBISHI พัฒนาร่วมกับ MAZAK โดยเฉพาะเลย ช่างที่ซ่อมเครื่องยี่ห้อนี้ได้ต้องเป็นมวยพอสมควร ส่วนใหญ่จะโดนน๊อคก่อน   MITSUBISHIได้นำเอาระบบที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากมาย บางครั้งช่างของทาง MITSUBISHI เองก็ งมเข็มในมหาสมุทรเหมือนกัน อย่าลืมว่าเขาพัฒนาร่วมกับ MAZAK ส่วนใหญ่จะเป็นงานช้างแต่เส้นผมบังภูเขา ช่างส่วนมากลืมไปได้เลยว่าซ่อมยี่ห้อนี้ได้ จะได้ก็เฉพาะ SERVO DRIVE, SPINDLE DRIVE, POWER SUPPLY และ MONITOR ส่วนระบบคอนโทรล ยากน๊ะ ถ้าท่านมีช่างประจำซ่อมอยู่แล้วก็น่าจะเป็นตัวเลือกตัวนึงเลยล่ะ  แต่ถ้าไม่มีผมว่าอย่าซื้อดีกว่าเหมือนกับ OKUMA นั่นหล่ะ ส่วนงานเครื่องกลก็เหมือนกับ MORI SEIKI และ OKUMA สามารถหาอะไหล่ได้ไม่ยากเท่าไหร่

ยี่ห้อ TAKISAWA, TAKAMAZ, CINCOM, STAR, WASINO, MIYANO, FANUC ROBOTDRILL, OKK, MAKINO, MITSUBISHI เป็นเครื่องที่สามารถเล่นได้เลยเพราะว่า ส่วนมากใช้คอนโทรลของ FANUC หาช่างซ่อมได้ไม่ยาก และอะไหล่เกลื่อนเมือง ส่วนอะไหล่ทางกลก็เช่นเดียวกัน ไม่ค่อยน่าหนักใจเท่าไหร่ พอหาได้ครับ

BROTHER, DMG หรือเครื่องที่สร้างมาเป็นเอกลักษ์ของตัวเอง เตรียมตัวตายได้เลยครับ ส่วนใหญ่ซ่อมไม่ค่อยได้ ต้องซื้ออะไหล่เปลี่ยนอย่างเดียว ราคาก็ไม่ต้องพูดถึง พวกนี้ทำมาขายอะไหล่โดยเฉพาะ ไม่นิยมให้ซ่อมได้ คนที่จะซื้อก็ต้องใจถึงนิดนึง หรือพอจะมีตังค์

2. อายุของเครื่องจักร

อายุ จะเป็นตัวบอกของอะไหล่ที่อยู่ในเครื่องจักรว่าสภาพจะเป็นอย่างไรยกตัวอย่างเช่นอายุประมาณ 20 - 25 ปี อะไหล่ส่วนมากจะค่อนข้างเก่า ถ้าซื้อมาก็ต้องทำใจหน่อย เพราะว่ามันถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ให้เขาแล้วประมาณ90% ถ้ามีงบประมาณสัก 5 - 6 แสนล่ะก็ซื้อได้,  ถ้าอายุ ระหว่าง 15 -19 ปี ก็ยังพอทนอะไหล่แต่ที่จะต้องเปลี่ยนประมาณ 70% ,  อายุระหว่าง 10-14 ปี ประมาณการเปลี่ยนอะไหล่อยู่ที่ 50% , อายุระหว่าง 5-9 ปี ประมาณการเปลี่ยนอะไหล่อยู่ที่ 30%  ,  ถ้าอายุต่ำกว่า 4 ปีอยู่ประมาณ 10 % ลองไปคิดดูให้ดีละกันว่าควรซื้อเครื่องอายุกี่ปี  ที่กล่าวมาด้านบนสำหรับเครื่องญี่ปุ่นน๊ะครับ สำหรับเครื่องใต้หวันล่ะก็หมดประกัน ให้ทำใจได้เลยครับ และส่วนใหญ่มักจะเกิดอาการแปลกๆ เพราะว่าเครื่องใต้หวันส่วนมากใช้ของไม่ได้ตามสเป็คครับ

3. สภาพของเครื่องจักร

หลังจากพิจารณาในสองหัวข้อบนแล้ว หัวข้อนี้หลอกตาคนไม่รู้มาเยอะแล้ว เคยได้ยินบ้างใหม "ข้างนอกสุกใส ข้างในโครตเล๊ะเลย" ทำสีข้างนอกงี้ ยังกับเครื่องใหม่เลยแต่พอเลื่อนแกน หมุนหัว Spindle อะไรอีก ฯลฯ ไม่ได้เรื่องเลย คนขายก็ไม่รู้ ท่านสามารถยึดหลักข้อนึงที่ผมจะพูดต่อไปนี้ อย่างแรกเลย ขอรื้อ COVER ทั้งหมดเท่าที่จะรื้อได้ แล้วดูรายละเอียดดังต่อไปนี้

3.1  แกนรางสไลด์ (BOX WAY) หรือ ไกด์ เวย์ ( LINEAR GUIDE WAY)

ต้องไม่มีลอยขีดข่วน บุบ หรือสนิมกัดกร่อน หรือสนิมตก กละ หรือเศษเหล็กติดโคลนเยอะมากในบริเวณนี้ หากมีให้ท่านนึกไว้เลยว่าซื้อมาต้องทำการซ่อมอะไหล่พวกนี้ งานช้างครับ และท่านยังสามารถทราบว่าเครื่องนี้เมื่อก่อนใช้กลึงวัสดุอะไรมาก่อน ท่านสามารถดูได้จากเศษเหล็ก หากมีรอยขูดขีดที่ลางไสลด์ให้สันนิฐานว่า ยางที่ติดกับแผ่นไสลด์ได้สึกและขาดไป งานช้างครับ

3.2 BALL SCREW

ท่านสามารถตรวจสอบได้จากการดูว่ารางของ Ball Screw มีลอยบุบหรือ สนิมกรัดกร่อนหรือไม่ ถ้ามีต้องเปลี่ยน Ball Screw อย่างเดียวถ้าไม่มีสามารถซ่อมได้ หลังจากนั้นให้ท่านเปิดเครื่องแล้วลองใช้ HANDLE  GENERATOR หมุนไปและกลับดู หากมีเสียง กึกกัก ขณะที่ท่านเดินไปแล้วเดินกลับในทันที ให้สันนิฐานว่า Ball Screw หรือ Support Bearing เจ๊งแน่นอนครับ

3.3 ความกลมของชุดหัวหมุนชิ้นงานหรือทูล ( SPINDLE RUN-OUT )

ให้ท่านใช้ DIAL GAGUE จับที่หัวจับดูแล้วหมุนจากรอบต่ำสุด ไปจนถึงสูงสุด หาก DIAL INDICATOR ยังอยู่ที่เดิมหรือ + / - ไม่เกิน 10 ไมครอน เครื่องตัวนี้ไม่จำเป็นต้องซ่อมเกี่ยวกับอุปกรณ์ชิ้นนี้ หากมากกว่านี้ต้องเปลี่ยน Spindle Bearing ครับ

3.4 หัวป้อมมีด (TURRET) สำหรับเครื่องกลึง CNC

ดูสภาพเอาว่ามีรอยร้าวบริเวณฐานหรือไม่ และ ดูที่ป้อมมีดว่าเล๊ะขนาดไหน ถ้าหัวป้อมมีด ยับเยินมาก ให้สันนิฐานไว้เลย เครื่องนี้ ชนเยอะ ส่วนการตั้งศูนย์ไม่ใช่เรื่องยากครับ

3.5 . เช็คตำแหน่ง ล็อคTOOL ( M19)สำหรับ MACHINING CENTER

ให้ท่านเช็คระบบล็อคหัวหมุน SPINDLE  โดยใช้ MDI แล้วเขียน M19 เข้าไป แล้วให้สังเกตุดูว่า หัว Spindle หยุดอยู่ตรงที่เก่าหรือไม่ อาจจะใช้สีมาร์คตำแหน่งไว้ หรือ Spindle แกว่งไปมาเป็นเจ้าเข้าหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น ซื้อมาท่านต้องเปลี่ยนอะไหล่ครับ ก็หลักหมื่นครับ

3.6 เช็คว่าแกน Z เอียงหรือไม่ สำหรับเครื่อง MACHINING CENTER

ให้ใช้ DIAL GAUGE ใส่หัว ARBOR แล้ว สวิงที่ DIAMETER 300 MM บน TABLE ดูที่ 4 ตำแหน่ง ซ้าย ขวา หน้า หลัง หากเพี้ยนมากกว่า 20 ไมครอน เรื่องใหญ่ครับ ถ้าท่านรับได้ก็ไม่มีปัญหา นั่นหมายถึงว่าท่านจะต้องยก COLUMN ออกมาตะไบฐานครับเพื่อที่จะไม่ให้เกิน 10 ไมครอนครับ

3.7 ทดลองกลึงและกัดงานดูครับ ว่าทำงานท่านได้ หากท่านพอใจ ท่านสามารถซื้อได้เลย หากท่านไม่พอใจแต่อยากได้ ท่านก็ต่อรองกับคนขายเอา หากท่านต้องการให้ผมไปช่วยดูให้ก็ติดต่อมาทาง บริษัทฯเลยครับ ยินดีไปช่วยดูให้ครับ

4. ระบบคอนโทรล ถ้าท่านเลือกซื้อได้ให้พยายามเป็นรุ่น Fanuc-OTC หรือ OMC ขึ้นไปครับ อะไหล่ค่อนข้างเยอะ จะเป็นเครื่องรุ่นปี 90 ขึ้นมาเล่นได้ครับ เช่น FANUC-16, 18, 21 Series ส่วน FANUC-15 นี่ปราบเซียนครับ เซียนๆยังยอมเลยครับแต่รุ่นนี้ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่ หากมีปัญหาขึ้นมาล่ะก็ ประเทศไทยเลยครับ ส่วน Fanuc ยุค 80 เช่น รุ่น Fanuc 3, 6 เป็นรุ่นพิมพ์นิยมครับ ถ้าพูดถึงคนซ่อมก็ต้อง คุณเมธาและคุณสุวัฒ์ แห่ง MM SERVICE ครับ ส่วนอีกที่นึงก็คุณจำลองแห่งค่าย JHM ครับ ทั้งสองบริษัทนี้ ฝีมือดีพอๆกันครับ

สำหรับท่านที่กำลังมองหาเครื่องเก่า CNC Horizontal Machining Center และ CNC Double Column ขนาดไหญ่ ทางเราสามารถหาให้ท่านได้ เรามีหลายขนาด ให้ท่านเลือก

ส่วนเรื่องอื่นๆ ยังคงแก้ไขได้ครับ หลักใหญ่ๆในการเลือกซื้อก็มีอยู่แค่ด้านบนแหละครับ ผมนึกได้แค่นี้ หากนึกได้อีก ผมจะเขียนเพิ่มมาให้ครับ หากท่านใดมีข้อแนะนำก็เมล์มาคุยกันครับ ยินดีรับความคิดเห็นครับ ที่ amnaj@inucth.com

ขอบคุณครับ

อำนาจ ขำเพ็ง
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs

    

admin

การเลือกซื้อเครื่อง CNC ใหม่ อย่างง่าย

    ณ สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันนี้ ทำให้หลายๆบริษัทอยู่ในขั้นวิกฤษ และอีกหลายๆที่ชลอการจ่ายเงินและงานลง ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่แทบจะหยุดการดำเนินธุรกิจเลย การซื้อขายเครื่องจักรเป็นเรื่องที่แย่ตามไปด้วย บทความนี้ผมจะพูดเกี่ยวกับเรื่องการเลือกซื้อเครื่อง CNC ใหม่แบบช่างซ่อม สำหรับท่านที่ต้องการลงทุนตอนนี้

    ผมเองซ่อมเครื่องเกือบจะทุกยี่ห้อที่เป็นของญี่ปุ่นและใต้หวัน มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันมากมาย ซึ่งแต่ละยี่ห้อพยายามขายจุดเด่นของตัวเอง ผมจะแบ่งกลุ่มเป็นสองประเภทละกัน กลุ่มแรกคือเครื่องจักรจากค่าย ญี่ปุ่น ถ้าพูดถึง สมรรถนะ คุณภาพ ความละเอียดในการประกอบและปรับแต่งรวมถึงความปราณีตในการทำงานต้องยกโป้งให้เลยครับ ถือได้ว่าสุดยอดทุกยี่ห้อ คุ้มกับค่าเงินที่จ่ายไปแน่นอน เรื่องของการพัฒนาของเครื่องจากค่ายนี้ ไม่ค่อยหนีกันเท่าไหร่หรอกครับ ส่วนมากจะตามๆกันมา ที่สำคัญต้องทำจากญี่ปุ่นน๊ะครับ ไม่ใช่เครื่องญี่ปุ่นที่ทำหรือประกอบ นอกประเทศน๊ะครับ ความปราณีตแตกต่างกันมากครับ

    กลุ่มที่สองที่มาจากค่าย ใต้หวัน ค่ายนี้ต้องทำใจในเรื่องคุณภาพ และ สรรมถนะ น๊ะครับ บางที่เครื่องรุ่นเดียวกันยังประกอบพาร์ทมาไม่เท่ากันก็เยอะ ความปราณีตในการทำงานของคนใต้หวันอาศัยเร็วอย่างเดียวครับและที่สำคัญโรงงานส่วนใหญ่ซื้อพาร์ทจากแหล่งเดียวกัน ถ้าท่านจะใช้ภายใน 2-3 ปี ถือว่าคุ้มหากมากกว่านี้ต้องคิดหนักนิดนึงน๊ะครับ

1. เงินในกระปุก หรือ ทุนทรัพย์

สิ่งแรกที่คุณต้องดูคือเงินที่เรามีอยู่ หรือ ความสามารถในการผ่อนชำระต่อเดือนและเงินดาวน์ แล้วคุณก็สามารถแยกว่าคุณจะซื้อจากค่ายไหน

2. งานที่จะทำ

หลังจากดูงบประมาณแล้ว ตอนนี้ต้องมากำหนดสเปคของเครื่องให้ตรงกับงาน โดยส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 ตลาด  ตลาดแรกจะเป็นงานทำอะไหล่หรือพาร์ททั่วๆไป สิ่งแรกที่คุณจะต้องทำก็คือดูที่จุดคุ้มทุนและจะคืนทุนเมื่อไหร่ ถ้าเป็นงานระยะยาว 2 ปีขึ้นไปแล้วงานได้ราคา ขอแนะนำเล่นของค่ายญี่ปุ่นเหอะครับ แพงกว่าเครื่องใต้หวันประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ความจุกจิกน้อยกว่าค่ายใต้หวัน แต่ถ้ามีระยะยาวแต่งานไม่มีราคาก็ใต้หวันก็น่าจะพอใช้ พอใช้ไปซักสองปีไปแล้วเรื่องคุณภาพเครื่องต้องทำใจนิดนึง สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูง แนะนำเลยว่าต้องเป็นเครื่องญี่ปุ่นเท่านั้นน๊ะครับ หากเป็นงานที่ค่า + / -  ลบเยอะๆเครื่องใต้หวันก็เป็นอีกทางเลือกนึง ส่วนเรื่องเลือก BOX WAY หรือ GIUDE WAY นั้นเป็นอีกเรื่องนึงครับ คือสองคอนเซ็ปนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง BOX WAY นั้นดูแลยากแต่ความละเอียด การกินชิ้นงานได้มากกว่าและพริซีชั่นสูงกว่า GUIDE WAY เยอะครับ แต่จะเสียเรื่องของความเร็วจะเป็นเต่านิดนึง แต่ข้อดีของ GUIDE WAY ดีตรงที่ว่าเวลาทำการซ่อมจะเสร็จเร็วกว่า การซ่อมของ BOX WAY นั้นต้องแป๊ะยางใหม่ ต้องเจียร์หน้ารางไสลด์ใหม่และวิธีการปรับแต่งค่อนข้างยาก แต่ถ้าทำแล้วอายุประมาณ 7 -10 ปี ก็จะทำซักทีนึงครับ หากเป็น GUIDE WAY ประมาณ 2 - 3 ปีก็ต้องเปลี่ยนแล้ว  สำหรับงานแม่พิมพ์ เงินจะเป็นตัวระบุว่าจะได้เครื่องเกรดไหน เพราะเทคโนโลยีเครื่องจักรญี่ปุ่นตอนนี้ไม่หนีกันเท่าไหร่หรอกครับ เพราะแต่ละบริษัทได้มีโรงแม่พิมพ์เพื่อที่จะพัฒนาเครื่องจักรโดยเฉพาะ สำหรับความคิดผม คิดว่าไม่แตกต่างกันครับ ถ้าจะแตกต่างก็เรื่องของโครงสร้างครับ ไม่ได้ใช่แค่ รอบ กับ ความเร็วตัดน๊ะครับ หากคุณซื้อเครื่องจักรมาดีมีออปชั่นทุกอย่าง แต่ซอฟแวร์ไม่ซัพพอร์ท มันก็ไม่มีอะไรดีขึ้นมา ความเข้าใจของคนเกี่ยวกับเครื่องจักร กับ ซอฟแวย์นั้น ยังเป็นเรื่องที่ใกลตัวครับ G CODE สำหรับ High Speed บริษัทขายซอฟแวย์บางที่ยังไม่เข้าใจเลยว่า ต้องใส่ที่ไหนอย่างไร หากคุณใส่ผิดตำแหน่งจะเกิดอะไรขึ้น หรือมันจะเข้าไปยกเลิกอะไรหรือเปล่า คนขายเครื่องเองก็พยายามขายและจะบอกลูกค้าเสมอว่า พี่ของผมมี NURB น๊ะ  มี JERK น๊ะ มี AI NANO น๊ะ มี LOOK AHEAD น๊ะ อื่นๆอีกมากมาย ผมถามหน่อยเหอะ เราๆท่านๆเข้าใจไม๊ ขนาดผมไปเรียนที่ญี่ปุ่นโดยตรงคนสอนผมบางทีเขายังไม่เข้าใจเลย เขาจะบอกผมเสมอว่าคุณอย่าลืมน๊ะ ระบบตอบสนองทางกลของเครื่องจักรไม่มียี่ห้อไหนคิดได้ 100 เปอร์เซ็นต์หรอกครับ อย่างน้อยต้องมี ERROR อย่างใดอย่างนึง เช่น Ball Screw มีความผิดพลาดเท่าไหร่ Spindle Unit มีความผิดพลาดเท่าไหร่ Spindle Taper มีความผิดพลาดเท่าไหร่ ความผิดพลาดทางกลนั้นน่ะเยอะมาก ต้องใส่ค่าชดเชยในพารามิเตอร์ของเครื่อง รวมถึงอุณหภูมิที่เครื่องจักรอยู่ก็มีผลเช่นเดียวกันครับ อันนี้ยังไม่รวมถึงการจับ Tool และTool ที่เลือกใช้ ค่าชดเชยที่เบี่ยงเบนขณะกัด รวมถึงค่าสึกหรอ หรือ กร่อนของ Tool อีกเพียบเลยครับ ยี่ห้อดีขนาดไหน ก็ไปไม่ได้ครับ เพราะว่าปัจจัยในการทำงานและวัสดุมีองค์ประกอบหลายอย่าง งานนี้ไม่หมูหรอกครับ

3. สเป็คของเครื่องจักร

อันนี้ยังเป็นปัญหาใหญ่อยู่สำหรับเครื่องแต่ละยี่ห้อผมจะอธิบายให้คร่าวๆล่ะกันว่าเขาจะดูกันอย่างไร เวลาเราซื้อเครื่องเราจะถามแต่ข้อดีใช่ไม๊ครับ แต่ข้อเสียเราจะไม่รู้เลยครับ เพราะคนขายเองก็ไม่รู้ครับว่ามันมีข้อเสียตรงไหน แต่ถ้าเป็นคนที่อยู่กับเครื่อง CNC มานานจะรู้ครับว่าโครงสร้างแบบนี้มีปัญหาอะไร หรือระบบคอนโทรลที่ยุ่งยากเกินไป ผู้ผลิตเครื่องเองพยายามนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ แต่ลืมไปว่าระบบคอมพิวเตอร์ของคอนโทรลนั้นเปลี่ยนแปลงเร็วมากใช้ไปประมาณ 4 - 5 ปีอะไหล่ไม่มีแล้วหรือถ้ามีก็รอนานมากเป็นเดือน ให้พยายามคิดเสมอน๊ะครับ ถ้าคุณจะซื้อเครื่อง CNC ยี่ห้อไหนก็ตาม ให้ถามคนขายนิดนึงว่า เดือนนึงเครื่องรุ่นนี้ประกอบ หรือ ขายกี่ตัว ถ้าเดือนนึงมากกว่า 50 ตัวขึ้นไป ท่านก็สบายใจได้ครับ เพราะว่าอะไหล่ที่ผู้ผลิตเครื่องสั่งทำจะเย๊อะตามไปด้วย หากผลิตแค่ 5 ตัว 10 ตัว ก็น่าคิดครับ เพราะว่าอะไหล่ที่สั่งทำก็จะน้อยตามด้วยครับ เครื่องบางยี่ห้อมีการพัฒนาร่วมกับผู้ผลิตคอนโทรล เวลามีปัญหาขึ้นมา ไม่รู้จะตามใคร ต่างคนก็ต่างโยนเรื่องให้กันและกันผมเจอมาเย๊อะครับ แล้วถ้าพูดถึงเรื่องความซับซ้อนซ่อนเงื่อนที่ผู้ผลิตคอนโทรลพยายามปิดบังมาโดยตลอด ถึงเวลาซ่อมขึ้นมาวิธีการและ อุปกรณ์ช่วย ขนมาหมดเลย เอาแค่ง่ายๆ แค่ Parameter เครื่องหายแค่นี้เอง ต้องโหลดสารพัดโปรแกรมเข้าไป ต้องใช้ Cassetเฉพาะ หรือไม่ก็ต้องใช้ตัวโหลดซอฟแวร์โดยเฉพาะของยี่ห้อนั้นๆ ท่านลองคิดดูน๊ะครับ แล้วช่างทั่วๆไปจะทำได้ไง ยากครับเป็นความคิดของผู้ผลิตคอนโทรลน๊ะครับ ต้องการหารายได้จากตรงนี้หรือไม่ก็ไม่อยากให้ผู้ใช้ไปวุ่นวายกับระบบของเขา ผมเองประทับใจ Fanuc อย่างนึงน๊ะครับว่าวิธีการของเขาค่อนข้างง่าย ไม่สลับซับซ้อนอะไร มีแค่ Laptop หรือ Memory Card แผ่นเดียวก็สามารถทำงานได้แล้วครับ เสียอยู่เรื่องเดียว การซื้อขายสินค้าค่อนข้างยากมาก แต่ถ้ามีแหล่งอื่นก็ไม่ต้องไปสนใจครับ หลายๆคนอาจจะเคืองๆอยู่เหมือนกันครับ อย่างว่าล่ะครับ อย่าคิดมากครับ เขาทำตามกฎและกติกาบ้านเมืองของเขาครับ หากไม่พอใจก็ไปใช้ของยี่ห้ออื่นก็ได้ครับ มาดูด้านล่างกันดีกว่า

3.1 ระบบของหัวจับชิ้นงาน หรือ หัว SPINDLE

ระบบขับด้วยสายพาน ( BELT TYPE ) ผมถือว่าเป็นระบบที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ ถ้ามอเตอร์กำลังขับเยอะ สายพานก็จะเยอะตาม ดูแลรักษาง่าย การซ่อมก็ง่ายไม่ยุ่งยาก แต่จะเสียในเรื่องของการเริ่มขับและตอนเบรกจะใช้เวลามากกว่าระบบอื่นนิดนึง การกัดงานและผิวจะดีได้ระดับนึง ผมไม่เคยเห็นปัญหากับเครื่องญี่ปุ่นเลย แต่ถ้าเป็นใต้หวันกำลังขับจะไม่ค่อยใหว หัวจะหยุดอยู่กับที่แล้วเครื่องก็จะ ALARM

ระบบเกียร์ ( GEAR TYPE)เป็นระบบที่เครื่องรุ่นใหญ่จะใช้กัน เน้นงานกัดปริมาณเยอะ ทอร์คของเครื่องจะสูง ดีครับสำหรับงานเปิดผิว หรือขุดพอกเก็ตท์ แต่จะไม่ดีสำหรับงานที่ต้องใช้รอบสูง เพราะมีขีดจำกัดเรื่องรอบ

ระบบขับตรงโดยใช้ชุดต่อ หรือชุดเฟืองเสียบตรง (DIRECT DRIVE) ระบบนี้ส่วนมากจะใช้กับเครื่อง MACHINING CENTER จะได้ในเรื่องของทอร์ค จะดีกว่าระบบสายพาน การกัดงานผิวจะดีกว่า และกัดหนักได้ดีเยี่ยม แต่จะเสียในเรื่องของการเริ่มขับและตอนเบรกจะเหมือนกับระบบสายพาน จะดีตรงที่ไม่ต้องเปลี่ยนสายพาน

ระบบขับตรง หรือ แบบมอเตอร์อยู่ด้านในหัวหมุน (DIRECT DRIVE WITH BUID-IN MOTOR) เป็นระบบที่อัจฉริยะมาก ทุกอย่างสมบูรณ์แบบ กัดได้หนัก ผิวดี ขึ้นลงของรอบได้เร็ว แต่การบำรุงรักษาค่อนข้างยาก ขออย่างเดียวอย่าให้ชนล่ะกัน ถ้าชนล่ะก็หัวนี้เป็นแสน ถึงแสนสาหัส การเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในทำได้ยาก ทำได้แต่จะไม่ดีเท่ากับของเดิม เครื่องจักรจากญี่ปุ่นตอนนี้เป็นระบบนี้หมดแล้ว หากรอบสูงมาก อายุการใช้งานก็มีขีดจำกัดอย่างเช่น อาจจะ 100,000 ชั่วโมงต้องเปลี่ยน Spindle Unit หลายๆท่านคงเคยเจอมาแล้ว ส่วนใหญ่คนขายเขาจะไม่บอกจุดด้อยกันหรอก จะบอกเฉพาะจุดเด่นเท่านั้น

3.2 ระบบป้อมมีดสำหรับเครื่องกลึง CNC

เครื่องยุคปี 80 และ 90 ส่วนมากเป็นแบบ คอบปริ้งค์ 2 ตัวประกบกัน ผมว่าระบบนี้ง่ายและคงทน แต่จะยากสำหรับงานซ่อมเพราะต้องถอดออกมาแล้วเปลี่ยน Taper Pin ใหม่ทั้งสองตัว แต่เครื่องยุคปี 2000 จะนิยมใช้แบบ คอบปริ้งค์ 3 ตัว ซึ่งง่ายเวลาปรับ โดยจะนิยมใช้เป็น Pin เยื้องศูนย์เป็นตัวปรับ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน Taper Pin เพราะว่าไม่มี   เวลาซ่อมไม่จำเป็นต้องถอดหัว ส่วนมากจะใช้ระบบ SERVO MOTOR มาขับแทนระบบ ไฮโดรลิคมอเตอร์ แต่ถ้าเป็นเครื่องจากใต้หวันยังใช้ระบบเก่าอยู่ แต่อาจจะมีบางยี่ห้อที่ใช้ Servo Motor แต่เป็นคอบปริ้งค์ 2 ตัวประกบกัน

3.3 ลูกตุ้มถ่วงน้ำหนัก

ต้องยอมรับอย่างนึงว่า ระบบของญี่ปุ่นสมัยใหม่นั้น จะไม่มีลูกตุ้มถ่วงน้ำหนักอีกต่อไปแล้ว โดยเขาจะดีไซด์ ให้ตัวคอลัมน์ใหญ่กว่าตัวชุดหัวหมุน แล้วใส่ Ball Screw และ Servo Motor ให้ขนาดใหญ่กว่าปกติเพื่อที่จะดึงแกนให้อยู่ไม่ให้ตก ข้อดีของระบบนี้ก็คือเวลาเรากัดงานละเอียด ความระเอียดผิวจะดีกว่ามากและสามารถคอนโทรลค่าได้ดีกว่า ส่วนเครื่องใต้หวันส่วนใหญ่ยังคงใช้ลูกตุ้มหรือไม่ก็ใช้แก๊สเข้ามาเป็นตัวช่วย ส่วนอีกระบบที่นิยมใช้กันก็คือระบบไฮโดรลิค Balance นิยมใช้เฉพาะเครื่องใหญ่ๆความเร็วค่อนข้างช้า ใช้กับเครื่อง High Spped ไม่ได้

3.4 ระบบเปลี่ยน TOOL สำหรับเครื่อง MACHINING CENTER

สำหรับเครื่องญี่ปุ่น ส่วนมากเป็น Random type หรือมี ระบบเก็บ Tool อยู่ข้างๆเครื่อง ระบบนี้ดีมากครับเพราะว่าไม่เก๊ะกะในเครื่องครับ การเลือกใช้สามารถเรียก Tool มารอก่อนได้ครับ ส่วนอีกระบบนึงเป็นแบบ ร่ม ระบบนี้ใส่ Tool ยาวไม่ได้ครับเพราะว่าเวลาเลื่อนแกนต้องคำนึงถึงงานที่อยู่ในเครื่องด้วย หาก Tool ยาวไปจะทำให้ Tool ที่ยาวชนกับชิ้นงาน แล้วเวลาเครื่องทำงานเศษโลหะจะกระเด็นเข้าไปติดอยู่กับ Tool ที่เก็บอยู่ในซองครับ ตอนเรียกก็ต้องเอา Tool เก่าไปเก็บก่อนแล้ว Tool ใหม่ถึงจะเรียกมาได้ครับ ระบบนี้เป็นพิมพ์นิยมของเครื่องใต้หวันครับ

3.5 ระบบเบรคสำหรับแกนโน้มถ่วงของโลก

ระบบเบรคมีความสำคัญยิ่งสำหรับความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงานกับเครื่องจักร เครื่องจักรทั่วๆไปจะมีอยู่ 2 ชนิด ชนิดแรกจะเป็นแบบ BUID-IN MOTOR เป็นระบบที่ดีมาก เบรคจะอยู่ด้านในมอเตอร์ครับ แต่จะมีปัญหาตอนที่เสียเพราะต้องซื้อมอเตอร์ใหม่ ราคาก็หลายบาทอยู่ครับ อีกระบบนึงเป็นแบบเบรคไฟฟ้าซึ่งอยู่ติดกับเพลา Ball Screw ครับ การทำงานเหมือนกับ BUID-IN MOTOR ครับ แต่แตกต่างจากการเปลี่ยนอะไหล่ครับ ระบบนี้ถูกกว่าเยอะครับ เครื่อง MORI SEIKI ใช้เป็นระบบแรกครับ และได้มีการพัฒนาร่วมกับ Fanuc ครับ เวลามีไฟตกหรือไฟดับแกนจะหมุนกลับทางประมาณ 0.1-0.3 MM ครับ ทำให้งานตอนเก็บละเอียดไม่เป็นรอยครับ ส่วนยี่ห้ออื่น ท่านสามารถถามคนขายได้ครับ

3.6 ยี่ห้อและขนาดของอุปกรณ์ที่ใช้เช่น  Ball Screw, Guide way, Spindle Bearing Diameter,  ขนาดของ Motor

อย่างที่ผมบอกเวลาซื้อของต้องดูยี่ห้อครับ หากยี่ห้อดี ขนาดใหญ่กว่า นั่นหมายถึงเครื่องที่ดีกว่าน๊ะครับ อย่าถามแต่มอเตอร์อย่างเดียวน๊ะครับ

3.7 ความเร็วรอบ และขนาดของ Spindle Nose รวมถึงขนาด Taper (BT-30, 40, 50) และ Stroke Limit

เอาไว้เปรียบเทียบน๊ะครับ ส่วนมากจะใกล้เคียงกัน

4. ยี่ห้อเครื่องจักร และ ศูนย์บริการ รวมถึงระบบคอนโทรล

ดูตาม้า ตาเรือด้วยน๊ะครับ ยี่ห้อเป็นตัวบ่งบอกอนาคตของเครื่องจักรเลยล่ะ หากเขามีศูนย์บริการอยู่ในบ้านเรายิ่งดีครับ ไม่ว่าจะเป็นระบบงานขาย งานหลังการขาย และระบบอะไหล่ หากเครื่องจักรเราเป็นอะไร เขาสามารถซัพพอร์ทเราได้ภายในกี่ชั่วโมง หากต้องรออะไหล่จากต่างประเทศกี่วันถึงจะได้  และที่สำคัญคนซ่อมครับ หากคนซ่อมเยอะจะเป็นการดีสำหรับเรา หากเครื่องที่เราซื้อมาแล้วหาคนซ่อมยากหรือต้องเรียกศูนย์บริการอย่างเดียว บางทีก็แย่น๊ะครับ เพราะคำตอบที่ท่านจะได้รับก็คือ ต้องรอคำตอบจากต่างประเทศครับ ทำอะไรไม่ได้ ยิ่งเครื่องยี่ห้อไหนระบบ IT เยอะ ปัญหาก็จะเยอะตามครับ เพราะว่าเทคนิคขั้นตอนจะเยอะครับ หากทางศูนย์บริการไม่มีระบบ IT ที่ LINK ไปกับบริษัทแม่ ตายอย่างเดียวครับ

ถ้าท่านอยากรู้มากกว่านี้ ส่งรายละเอียดที่ท่านจะซื้อ เดี๋ยวผมจะสรุปให้ท่านเป็นข้อๆครับ ว่าตัวนี้ดีที่ไหน และไม่ดีที่ไหน อย่าให้ลงบนนี้เลยครับ เพราะว่าต่างคนต่างความคิดครับ ผมคิดเพราะว่าผมเห็น ผมเห็นก็เพราะว่าผมทำมากับมือครับ

   ตอนนี้ผมนึกออกแค่นี้ หากมีข้อมูลเพิ่มเติม ผมจะลงเพิ่มให้ครับ หากท่านใดสนใจอยากให้ผมช่วยดูให้ก็ติดต่อได้ทุกเวลาน๊ะครับ ยินดีช่วยครับ

ขอบคุณครับ

อำนาจ  ขำเพ็ง
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs

    

admin

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ กับเครื่องจักร cnc ผ่าน port RS-232
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs

    

admin

Fanuc RS232 Settings
Fanuc RS232 cable drawing and RS 232 Coms port settings Fanuc RS232 Communications Information for Fanuc 0 and Fanuc 6 controls



Fanuc Parts Index
Signal Description

Signal Name Pin # I/O Description

SD 2 O Sending Data
RD 3 I Recieving Data
RTS 4 O Request To Send:
This Signal is set to on when the NC starts sending data and is turned off when the transmission ends.
CTS 5 I Clear To Send:
When this signal and the DSR signal are set high, the NC can send data from SD. If this signal is set low the NC will stop sending data after two more characters are sent. Jump 5 to 4 if signal isn't used.
DSR 6 I Data Set Ready:
When the external device is ready to operate to needs to set this signal high. If this signal goes low anytime during data transfer, NC alarm 86 will occur. Jump 6 to 20 if signal isn't used.
SG 7 - Signal Ground
CD 8 I Carrier Detect:
Signal must be straped to DTR. Jump 8 to 20 in cable.
DTR 20 O Data Terminal Ready:
This Signal is set to on when the NC is ready for operation.
FG 1 - Frame Ground:
This electrically connects the NC cabinet ground to your extirnal device's ground.

Note: If grounds are of a different potential between devices, damage to equipment and/or electric shock can occure. Be sure all equipment is properly grounded!

FANUC 6 RS232 SETTINGS
1. With the power on, turn the door interlock key, on the back of the control, to OFF.
? This will allow you to open the door without shuting off the control or shunt breaker.
2. Open the front door on the control and turn the Parameter switch to Enable.
? The switch is located on the Master PC Board in the lower left corner.
? Alarm 000 will be displayed on the CRT screen.
? This is just to let you know that the parameters are unprotected and can be over written.
3. Select MDI on the mode switch and turn the Edit Protect key OFF.
? You must be in MDI mode to change any parameters.
4. Press the PARAM button on the Control.
? This will bring up the parameter page.
5. Insert the tape in the tape reader.
6. Press P-9999 then the READ button.
7. After you have finished loading parameters, return the parameter switch to Disable.
? You will need to turn power OFF and back ON to clear the alarm.
8. Test the machine to make sure the new settings are effective and accurate. You may need to edit the parameters if you are using the standard tape.
FANUC O RS232 SETTINGS
1. With control powered up release the E-Stop, In parameters check ISO=1 and 552=10
2. Get your RS232 Software ready to receive file
3. Put the 0 Control into Edit mode and go into parameters
4. At the same time press EOB and Output Start this will now copy across the Parameters including all the 900 option parameters
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs

    

admin

AL00 Parameter Alarm
Cause:
The sequence parameter is set incorreclty.
Solution:
Set the sequence parameter correctly. Refer to the electric circuit diagram for the correct setting value.
AL01 M-Function Time Over
AL02 S-Function Time Over
AL03 T-Function Time Over
Cause:
The operation is not completed within 1 minute from he operation command (after axis travel is completed).
(1) Confirmation failureor failure of limit switch or solenoid valve, etc.
(2) Interference during operation
(3) Pump pressure drop
(4) Incorrectly commanded
Solution:
Check the operation stop position and correct the failure. Command correctly.
AL05 Circuit Protector Trip
Cause:
The circuit protector of the control circuit has tripped due to failure of a unit, short-circuit, burning, etc.
(1) CP6, 8, 9, 10, 11
(2) CP1 (option)
(3) CB2, 4
Solution:
Find the reason why the circuit protector tripped and correct it. Set the circuit protector to ON.
AL06 Machine Start Not In Position
Cause:
Each part of the machine is not at the origin upon the start of the tape or memory operation (excluding single blocks).
(1) Table origin (lowermost position and fully clamped)
(2) Tool change origin
(3) Pallet changer origin
(4) Tool ID origin (option)
Solution:
Carry out operation confirmation.
(1) Lower (or clamp) the table.
(2) Execute the tool change command.
(3) Execute the pallet change command.
(4) Correct the origin.
AL08 Pascal Communication Alarm
Cause:
An error is detected in the pascal communication.
Solution:
Refer to the instruction manual for the DNC system
AL10 Cannot Machining by DNC Tool Check
Cause:
Machine is not allowed because the tool used in the machining for the next pallet to be loaded onto the machine (pallet waiting in P/C) is either broken or its life is over.
Solution:
Check the broken tool or life-over tool and replace it.
AL11 Host Detection Alarm
Cause: An error is detected in the host computer.
Solution: Refer to instruction manual for the DNC system.
AL13 NC Alarm
Cause: An error occurred to NC.
Solution: Refer to the instruction manual for NC.
AL14 Control Circuit Thermal Trip
Cause: The thermal relay has tripped due to the overload on the motor.
(1) Hydraulic pump motor 1 (T1OL1)
(2) Motor in the coolant unit.
Solution Check the thermal relay in the control panel and see if the motor in question has any abnormality (noise, heat). Correct the error and reset the thermal relay.
*Unless the thermal relay has cooled off, it either cannot be reset or trips again. Wait some time before resetting it.
AL15 Chip Conveyor In M/C Thermal Trip
Cause: The thermal relay for the chip conveyor in the machine has tripped due to an overload on the motor caused by chips, clogging, etc.
(T1OL3)
(T1OL4)
Solution: Check the thermal relay in the control panel and see if the chip conveyor motor has an abnormality (noise, heat). Correct the error, remove the chips, and reset the thermal relay.
*Unless ther thermal relay has cooled off, it either cannot be reset or trip again. Wait some time before resetting it.
AL17 Pneumatic Pressure Down
Cause: (1) The pneumatic pressure is under its setting.
(2) Error of the pressure switch.
Solution: (1) Check the piping route for the pressure source confirmation.
(2) Check movement of the pressure switch.
AL18 Oil/Air Pressure Down
Cause: (1) Oil/air pressure is under its setting.
(2) Error of the pressure switch.
Solution: (1) Check the piping route for the oil/air pressure confirmation.
(2) Check movement of the pressure switch.
AL19 Fire Extinguisher Run
Cause: The fire extinguisher run during machine due to fire inside the whole cover.
Solution: Remove its fire cause and press the alarm reset button. *Contact our service division.
AL20 Slide Face Lubrication Alarm
Cause: The pressure switch of the slide face lubrication unit (T2LU1) does not turn ON.
Solution: (1) Press the CONTROL ON button to start the lubrication unit and check the pressure on the pressure gauge.
(2) Check the unit for oil leakage and correct it.
(3) Check the actuation of the PS.
(4) Check the pump motor for abnormalities and repair it as necessary.
AL22 Oil/Air Lubricator Alarm
Cause: Abnormality in the oil/air lubrication unit.
Solution: (1) Check the amount of the lubricant and supply more as required.
(2) Check the unit for oil leakage and repair it as necessary.
(3) Check the actuation of the PS.
(4) Check the pump motor for abnormalities and repair it as necessary. Refer to the instruction manual for the oil/air lubrication unit.
AL23 Air Dryer Alarm
Cause: Abnormality in the air drier.
Solution: Refer to the instruction manual for the air drier section (7.5).
AL24 Rotary Table Angle Discord
Cause: The rotary table started descending when the indexed position is less than 1 in case of 1 degree indexing or other than a multiple of 5 in case of 5 degree indexing.
Solution: Index to the correct position in the MDI or handle mode.
AL25 Rotary Table Zero Position Discord
Cause: Lowering the table is attempted when the B-axis coordinates are not yet established in the NC.
Solution: Establish the B-axis coordinates be executing B-axis zero return.
AL26 S-Code Out of Range
Cause: The S command for the spindle rotation is other than the specifications.
Solution: Specify the S command correctly. Refer to the operation manual for the allowable command range.
AL27 Fault of Gear Shift
Cause: Even if gear shift is repeated 5 times, it cannot be done a normal completion.
Solution: Command correctly S-command. Refer to the operation manual for command range.
AL28 Spindle Drive Unit Alarm
Cause: Abnormality in the spindle drive unit.
Solution: Refer to the troublshooting section (6.4).
AL29 Spindle Revolution Alarm
Cause: (1) The spindle speed does not reach the command value within 5 seconds after starting.
(2) 0 speed is detected after the command speed has been reached.
Solution: Refer to troubleshooting section (6.5).
AL30 Spindle Revolution Condition Alarm
Cause: The signals for the following positions turned OFF while the spindle was rotating. Or, if the spindle rotation is attempted while they are OFF.
*Main arm home position
*Bevel spring clamp end
*Rod clamp end
Solution: Refer to the troubleshooting section (6.6).
AL31 Spindle Orientation Alarm
Cause: The in-position signal turned OFF when the orientation was completed by M06 (change tool) or M19 (stop at spindle home position).
Solution: Refer to the troubleshooting section (6.7).
AL32 Servo Ready OFF ON Spindle Rev.
Cause: The servo ready or control on signal turned OFF while the spindle was rotating.
Solution: Refer to the troubleshooting section. (6.8).
AL33 S-Code Instruction Nothing
Cause: Spindle rotation is attempted without commanding the S-code.
Solution: Command the S-code before starting the spindle.
AL34 Preload Pressure Alarm
Cause: (1) Was the spindle preloaded when rotated 8000 (low speed), 12000 (high speed) times or more?
(2) Was the spindle unpreloaded when rotated 8000 (low speed), 12000 (high speed) times or less?
Solution: (1) Check the piping route.
(2) Check movement of the pressure switch (3PS1, 3PS2).
(3) Adjust or correct valves (3SOL1.2).
AL35 ATC Not in Position
Cause: The Y and Z-axis is not in the ATC position.
Solution: (1) Move Y-axis and Z-axis to ATC position.
G90G30Z0
G90G30Y0
(2) Refer to 6.7.
AL36 Tool Change Time Over
Cause: The operation is not completed within 30 seconds after the M06 command.
(1) Confirmation failure or failure of the limit switch, solenoid valve, etc.
(2) Interference during operation.
(3) Pump pressure drop.
Solution: Check the operation stop position and correct the error.
AL37 ACT Action Defective
Cause: Turn OFF one of the following signals, during tool changing
(1) ?Run mode? : Y108.3
(2) ?Servo on? : Y109.4
Solution: (1) Make the run mode to AUTO (MEMORY, TAPE) or INCHING (MDI).
(2) Press the CONTROL ON button.
AL38 ATC Servo Alarm
Cause: ATC SERVO device in the control cabinet gets abnormality
Solution: Refer to the ?Controller Servo Amplifier Device Error? on the ATC servo device operation manual (7.5.13).
AL39 ATC Servo Alarm (Error Code)
Cause: ATC SERVO device in the control cabinet gets abnormality.
Solution: Refer to the ?Controller Servo Amplifier Device Error? on the ATC servo device operation manual (7.5.13).
AL40 T-Code Alarm
Cause: (1) The specified tool is not registered in the tool table (in the case the tool management function is provided).
(2) A T-Code is beyond the allowable command range.
(3) A T-Code is commanded when a tool is already mounted to the main arm.
(4) A T-Code different from the previous operation is commanded for the reset start operation of the tool retrieval cycle.
Solution: (1) Check the tool table and correct it as required.
(2) Command the correct T-Code.
AL41 Tool Take Out Time Over
Cause: (1) Confirmation failure or failure of the limit switch, solenoid valve, etc.
(2) Interference during operation.
(3) Pump pressure drop.
Solution: Check the operation stop position and correct the error.
AL42 Tool Return Time Over
Cause: (1) Confirmation failure or failure of te limit switch, solenoid valve, etc.
(2) Interference during operation.
(3) Pump pressure drop.
Solution: Check the operation stop position and correct the error.
AL43 Cannot Tool Selection
Cause: (1) With the main arm with a tool, T-Code of tool in the main arm of spindle was commanded just after T-Code command.
(2) The magazine indexing was not normal.
(3) T-Code was commanded when the main arm is not at its origin.
Solution: (1) -Check the operation method.
-Check and correct the program.
-Check and correct tool numbers on the data table screen of PC.
(2) Check and correct tool numbers at indexing positions.
(3) Return the main arm to its origin.
AL44 Cannot Tool Return
Cause: (1) A tool to be returned is not in the main arm pot.
(2) The sub arm is not at its origin.
Solution: (1) Adjust the limit switch.
(2) Check and correct tool numbers on the data table screen of PC.
AL45 MG. IO Alarm
Cause: MG-IO detects abnormality.
Solution: Refer to the 4.1.2 (2) on page 4-2 and 4.5
AL46 Magazine Servo Alarm
Cause: A magazine servo alarm occurred.
Solution: Refer to the ?Contoller Servo Amplifier Device Error? on the Magazine servo device operation manual. (7.5.13).
AL47 Magazine Servo Alarm (Error Code)
Cause: A magazine servo alarm occurred.
Solution: Refer to the ?Controller Servo Amplifier Device Error? on the Magazine servo device operation manual (7.5.13).
AL48 No Coolant
Cause: The float switch for detecting ?no coolant? turned OFF (7LS1).
Solution: (1) Supply coolant. *Note: The coolant will overflow if supplied during operation.
(2) Check and correct the proximity switch as required.
(3) Clean the coolant collecting filter.
AL49 Filter Grog Up
Cause: The pressure switch for confirming the pressure turned OFF while the spindle through coolant was being discharged.
Solution: (1) Clean the coolant filter.
(2) Check the filter feed pump and spindle through the coolant pump.
(3) Check the pressure switch or replace it.
AL50 No Tap Oil
Cause: The float switch for detecting ?no tap oil? turned OFF (7FS5).
Solution: (1) Supply tapping oil.
(2) Check the float switch or replace it.
AL51 Coolant Unit Thermal Trip
Cause: The thermal relay has tripped when the coolant pump motor was overloaded.
Solution: Check the thermal relay in the coolant control board for error (abnormal sound or heat) of motor in which the relay has tripped. If there is an error, correct it and set the thermal relay.
*Wait for a certain time before starting operation again because if the thermal relay is still warm, it cannot be set or will be tripped soon again.
AL53 Pallet Changer Cycle Time Over
Cause: The motion does not complete within 60 seconds after starting pallet changing,
(1) Confirmation failure by limit switch, solenoid valve, etc., or breakage.
(2) Interference during the motion.
(3) Down of the pump pressure.
Solution: Check the stop position, and correct the troubled portion.
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs